ประเทศไทย
31 มีนาคม 2566 - 6 เมษายน 2566ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกตลอดช่วง นอกจากนี้มีลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 1-2 เม.ย. โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางแผ่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ โดยมีฝนส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในระยะต้นช่วง จากนั้นเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวเกือบตลอดช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างในวันที่ 4 เม.ย. ทำให้ภาคใต้มีอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีฝนตลอดช่วง
ลักษณะอากาศรายภาค
31 มีนาคม 2566 - 6 เมษายน 2566ภาคเหนือ
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะกลางและปลายช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 1-2 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
10.0 มม. ที่ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 1 เม.ย. | 42.3 º ซ. ที่ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 6 เม.ย. |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในระยะปลายช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่เกือบตลอดช่วงกับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 2 เม.ย. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครพนมในวันที่ 1-2 เม.ย. จังหวัดสกลนคร ชัยภูมิ และศรีสะเกษในวันที่ 2 เม.ย. และอำนาจเจริญในวันที่ 3 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
37.3 มม. ที่ อ.นาทม จ.นครพนม เมื่อวันที่ 2 เม.ย. | 41.3 º ซ. ที่ อ.เมือง จ.มุกดาหาร เมื่อวันที่ 6 เม.ย. |
ภาคกลาง
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดราชบุรีในวันที่ 2 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
7.6 มม. ที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 1 จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 2 เม.ย. | 41.6 º ซ. ที่ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 5 เม.ย. |
ภาคตะวันออก
มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในวันที่ 2 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
32.0 มม. ที่ อ.เขาสมิง จ.ตราด เมื่อวันที่ 31 มี.ค. | 40.4 º ซ. ที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 6 เม.ย. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาคเกือบตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 2-5 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
79.5 มม. ที่ อ.สะเดา จ.สงขลา เมื่อวันที่ 3 เม.ย. | 38.4 º ซ. ที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 5 เม.ย. และ ที่ กกษ.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 5 เม.ย. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 25-35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 31 มี.ค., 1, 2 และ 5 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
86.4 มม. ที่ อ.รัษฎา จ.ตรัง เมื่อวันที่ 5 เม.ย. | 39.6 º ซ. ที่ อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 31 มี.ค. |
กรุงเทพและปริมณฑล
มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในวันที่ 2 เม.ย.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
7.6 มม. ที่ ท่าอากาศยานดอนเมือง เขตดอนเมือง เมื่อวันที่ 2 เม.ย. | 38.4 º ซ. ที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย เมื่อวันที่ 6 เม.ย. (39.6 º ซ. ที่ กกษ.ปทุมธานี อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 4 เม.ย.) |
ออกประกาศ 07 เมษายน 2566 11:46 น.