ประเทศไทย
07 ตุลาคม 2565 - 13 ตุลาคม 2565บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังอ่อนลงในระยะต้นช่วง และมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยในระยะครึ่งแรกของช่วง โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในระยะกลางช่วงจากนั้นได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยร่องมรสุมดังกล่าวได้พาดเข้าสู่พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีปริมาณและการกระจายของฝนลดลง และมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วง
ลักษณะอากาศรายภาค
07 ตุลาคม 2565 - 13 ตุลาคม 2565ภาคเหนือ
มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดตาก เพชรบูรณ์ และพิจิตร กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดลำปางในวันที่ 11 ต.ค. นอกจากนี้ มีรายงานอากาศเย็นหลายพื้นที่ในตอนเช้าส่วนมากในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีอากาศหนาว บางพื้นที่บริเวณเทือกเขาและยอดดอย
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
67.7 มม. ที่ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร เมื่อวันที่ 7 ต.ค. |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนร้อยละ 20-55 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วงกับมีฝนหนักบางแห่ง และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดหนองบัวลำภูในวันที่ 11 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานอากาศเย็นทั่วไปในตอนเช้าในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่บริเวณเทือกเขาและยอดภู
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
71.6 มม. ที่ อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. |
ภาคกลาง
มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดราชบุรีในวันที่ 9 ต.ค. และจังหวัดกาญจนบุรีในวันที่ 11 ต.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
118.5 มม. ที่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. |
ภาคตะวันออก
มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ในวันที่ 7, 9 และ 10 ต.ค. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 10 ต.ค. นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี กับมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสระแก้ว ฉะเชิงเทรา และระยองในวันที่ 11-12 ต.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
161.1 มม. ที่ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เมื่อวันที่ 10 ต.ค. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนมากกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 30-60 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ในวันที่ 10 ต.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
136.6 มม. ที่ ท่าอากศยานปัตตานี อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 7 ต.ค. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 10-12 ต.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วง และมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 13 ต.ค. นอกจากนี้ มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตรังในวันที่ 9 ต.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
103.5 มม. ที่ ท่าอากาศยานภูเก็ต อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 13 ต.ค. |
กรุงเทพและปริมณฑล
มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง เว้นแต่ในวันที่ 8, 12 และ 13 ต.ค. มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดปทุมธานี นครปฐม และนนทบุรี
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
110.5 มม. ที่ ท่าเรือกรุงเทพ เขตคลองเตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค. (123.4 มม. ที่ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 9 ต.ค.) |
ออกประกาศ 14 ตุลาคม 2565 12:00 น.