ประเทศไทย
13 มกราคม 2566 - 19 มกราคม 2566บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออกในระยะต้นช่วง โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงระลอกใหม่ได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันที่ 15-16 ม.ค. จากนั้นได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย นอกจากนี้มีลมตะวันตกในระดับบนเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือในวันสุดท้ายของช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาว ส่วนภาคอื่น ๆ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยประเทศไทยตอนบนมีฝนบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ในระยะต้นช่วง จากนั้นในช่วงครึ่งหลังของช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกตลอดช่วง
ลักษณะอากาศรายภาค
13 มกราคม 2566 - 19 มกราคม 2566ภาคเหนือ
มีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นอุณหภูมิเพิ่มขึ้นแต่ยังคงมีอากาศหนาวบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด นอกจากนี้มีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ในวันที่ 13 ม.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
8.0 º ซ. ที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก เมื่อวันที่ 16 ม.ค. (1.8 º ซ. ที่ กิ่วแม่ปาน ดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 17 ม.ค.) |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีอากาศเย็นทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาว โดยมีฝนปานกลางบริเวณจังหวัดเลยในวันที่ 15 ม.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
14.0 มม. ที่ อ.เชียงคาน จ.เลย เมื่อวันที่ 15 ม.ค. | 10.2 º ซ. ที่ กกษ.นครพนม อ.เมือง จ.นครพนม เมื่อวันที่ 19 ม.ค. (8.0 º ซ. ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเลย อ.ภูเรือ จ.เลย เมื่อวันที่ 16,17,18 ม.ค.) |
ภาคกลาง
มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอากาศเย็นทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในวันที่ 16 ม.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
15.2 º ซ. ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 16 ม.ค. |
ภาคตะวันออก
มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วง
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
28.0 มม. ที่ กกษ.ห้วยโป่ง อ.เมือง จ.ระยอง เมื่อวันที่ 13 ม.ค. | 18.5 º ซ. ที่ อ.เมือง จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 19 ม.ค. (11.8 º ซ. ที่ สถานีอุตุนิยมวิทยา (เขาเขียว) อ.เมือง จ.นครนายก เมื่อวันที่ 19 ม.ค.) |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคจากนั้นมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ตลอดช่วง กับมีฝนหนักบางแห่งในวันสุดท้ายของช่วง
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
87.2 มม. ที่ กกษ.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 19 ม.ค. | 17.0 º ซ. ที่ กกษ.สวี อ.สวี จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 17 ม.ค. และ ที่ กกษ.สุราษฎร์ธานี อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 17 ม.ค. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 25-60 ของพื้นที่ในวันที่ 13, 14 และ 18 ม.ค. กับมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในบางวัน และมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของช่วง
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
67.2 มม. ที่ อ.เมือง จ.สตูล เมื่อวันที่ 13 ม.ค. | 18.0 º ซ. ที่ อ.เมือง จ.ระนอง เมื่อวันที่ 17 ม.ค. |
กรุงเทพและปริมณฑล
มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอากาศเย็นหลายพื้นที่
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
21.5 º ซ. ที่ กกษ.บางนา เขตบางนา เมื่อวันที่ 19 ม.ค. (18.2 º ซ. ที่ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 17 ม.ค.) |
ออกประกาศ 20 มกราคม 2566 11:50 น.