ประเทศไทย
21 กรกฎาคม 2566 - 27 กรกฎาคม 2566ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนใต้ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นร่องดังกล่าวได้เลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาและลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเกือบตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนาแน่นในระยะครึ่งแรกของช่วง ส่วนภาคใต้มีฝนตลอดช่วงโดยเฉพาะทางฝั่งตะวันตกของภาค
อนึ่ง พายุโซนร้อน “ทกซูรี (DOKSURI,2305)” บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ได้ทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในช่วงเช้ามืดของวันที่ 23 ก.ค. และได้ทวีความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นในช่วงเช้ามืดของวันที่ 24 ก.ค.
ลักษณะอากาศรายภาค
21 กรกฎาคม 2566 - 27 กรกฎาคม 2566ภาคเหนือ
มีฝนร้อยละ 65-75 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 35-55 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพิษณุโลกและพิจิตร ในวันที่ 23 ก.ค. และจังหวัดตาก ในวันที่ 24 ก.ค. กับมีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดพิจิตร ในวันที่ 27 ก.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
61.8 มม. ที่ สถานีทดลองและขยายพันธ์อ้อยพิจิตร จ.พิจิตร เมื่อวันที่ 23 ก.ค. |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีฝนร้อยละ 70-85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 15-40 ของพื้นที่และมีฝนหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 21-22 ก.ค. จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม อำนาจเจริญ และมุกดาหาร ในวันที่ 22 ก.ค. และมีรายงานหินถล่มบริเวณจังหวัดบึงกาฬ ในวันที่ 24 ก.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
132.5 มม. ที่ นิคมสร้างตนเองคำสร้อย อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร เมื่อวันที่ 21 ก.ค. |
ภาคกลาง
มีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 22, 23 และ 25 ก.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
81.4 มม. ที่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี เมื่อวันที่ 23 ก.ค. |
ภาคตะวันออก
มีฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 20-45 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นและกลางช่วง นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตราด ในวันที่ 21 ก.ค. และมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครนายก ในวันที่ 21 ก.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
149.5 มม. ที่ แขวงทางหลวงตราด อ.เมือง จ.ตราด เมื่อวันที่ 24 ก.ค. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ในวันแรกของช่วง จากนั้นมีฝนร้อยละ 20-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในระยะต้นช่วง
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
60.0 มม. ที่ อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 21 ก.ค. |
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนร้อยละ 75-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 25 และ 27 ก.ค. มีฝนร้อยละ 50-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดช่วงและมีฝนหนักมากบางพื้นที่ในวันที่ 21, 22 และ 24 ก.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
144.0 มม. ที่ อ.คุระบุรี จ.พังงา เมื่อวันที่ 24 ก.ค. |
กรุงเทพและปริมณฑล
มีฝนมากกว่าร้อยละ 85 ของพื้นที่กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสมุทรปราการ ในวันที่ 22 ก.ค. และกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 21-22 ก.ค.
ปริมาณฝนสูงสุด | อุณหภูมิสูงสุด | อุณหภูมิต่ำสุด |
120.7 มม. ที่ กองบินตำรวจ เขตบางเขน เมื่อวันที่ 21 ก.ค. (126.3 มม. ที่ สนง.เกษตรจังหวัดนครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 23 ก.ค.) |
ออกประกาศ 28 กรกฎาคม 2566 10:19 น.