Link Copied
ลักษณะอากาศทั่วไป
22 กรกฎาคม 2567
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
อนึ่ง เมื่อเวลา 01.00 น. พายุโซนร้อน “พระพิรุณ” มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.1 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ออกประกาศ 22 กรกฎาคม 2567 07:00 น.
พยากรณ์อากาศสำหรับเรือเดินทะเล เรือในราชนาวีและเรือทำการประมง
อ่าวไทยทั้งสองฝั่ง
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 8-18 นอต หรือ 15–35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกา
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ทะเลอันดามันตอนบน : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 11-18 นอต หรือ 20–35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ทะเลอันดามันตอนล่าง : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 8-18 นอต หรือ 15–35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
เส้นทางเดินเรือโกตาบารูถึงสิงคโปร์
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 8-18 นอต หรือ 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ปลายแหลมญวน
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 11-18 นอต หรือ 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ออกประกาศ 22 กรกฎาคม 2567 07:00 น.