Link Copied
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอนโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี 2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอนโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี 2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การตรวจวัดแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติซึ่งสามารถส่งแรงสั่นสะเทือน หรือมีผลกระทบไปได้ไกล ไม่เฉพาะบริเวณประเทศที่เกิดเท่านั้นบางครั้งหากมีขนาดใหญ่ คลื่นแผ่นดินไหวสามารถส่งผ่านไปได้ บนผิวโลกหลายพันกิโลเมตรในหลายประเทศดังนั้น การตรวจวัดแผ่นดินไหว จึงใช้ทั้งระบบเครือข่าย สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวในระดับแต่ละประเทศ และเครือข่ายในระดับโลก เพื่อการวิเคราะห์ตำแหน่ง ขนาดและเวลาเกิดของเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้อย่างรวดเร็ว ประเทศไทยเริ่มมีการตรวจแผ่นดินไหว เมื่อปี พ.ศ. 2506 สถานีตรวจแผ่นดินไหวแห่งแรกของกรมอุตุนิยมวิทยา ติดตั้ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเข้าร่วมอยู่ในเครือข่ายระบบมาตรฐานโลก Worldwide Standardized Seismograph Network : WWSSN และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นระบบเครือข่าย Incorporated Research Institution of Seismology : IRIS ซึ่งเป็นเครือข่ายโดยความร่วมมือของสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ในสหรัฐอเมริกา และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาได้เพิ่มจำนวนสถานีตรวจแผ่นดินไหวในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศเป็นแบบระบบอะนาล็อก จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เลย อุบลราชธานี นครราชสีมา นครสวรรค์ เขื่อนเขาแหลม และอำเภอจังหวัดเมือง จังหวัดกาญจน บุรี จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา และภูเก็ตกับเป็นแบบ ระบบดิจิตอล จำนวน 11 แห่งได้แก่ จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ขอนแก่น เลย ปากช่องจังหวัดนครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และสงขลา นอกจากนั้น ยังมีหลายหน่วยงานที่ทำการตรวจวัดแผ่นดินไหวในหลายวัตถุประสงค์เช่น กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือมีระบบเครือข่ายแบบ Array เพื่อการตรวจจับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้พื้นดิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีการตรวจแผ่นดินไหวขนาดเล็ก เป็นเครือข่ายบริเวณเขื่อนทางภาคตะวันตก สำหรับกรมชลประทานมีเครือข่ายตรวจแผ่นดินไหว บริเวณ จังหวัดแพร่ เพื่อศึกษาลักษณะการเกิดแผ่นดินไหวก่อนการสร้างเขื่อน และกรมโยธาธิการ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยเรื่องการตอบสนองของอาคารจากความสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
เครื่องมือตรวจวัดแผ่นดินไหวแบบอะนาล็อก