Link Copied
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอนโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี 2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การพยากรณ์อากาศ+
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอนโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี 2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ
คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติเป็นคณะกรรมการหนึ่งในกระทรวงคมนาคมทำหน้าที่ด้านวิชา การเกี่ยวกับภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือน กันยายน 2528 โดยการรวมตัวของเหล่านักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยาวิศวกร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแผ่นดิน ไหวและวิศวกรรมแผ่นดินไหวรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ เนื่องจากได้เกิดแผ่นดินไหวที่ อำเภอ ศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2526 ความสั่นสะเทือนเกิดขึ้นรุนแรง ประชาชนในแทบทุกจังหวัดในภาคเหนือและภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพมหานครรู้สึกถึงความสั่นไหวอย่างชัดเจนเกิดความเสียหายเล็กน้อยบริเวณใกล้ศูนย์กลาง เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดความตระหนกและเริ่มเป็นที่กังวลใจ เนื่องจากศูนย์กลางค่อนข้างใกล้กรุงเทพมหานคร ดังนั้นคณะกรรมการแผ่นดินไหวจึงเริ่มก่อตั้งขึ้นและมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหว
องค์ประกอบของ คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ
- รัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรางคมนาคม ประธานกรรมการ
- อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รองประธานกรรมการ
- อธิบดีกรมโยธาธิการหรือผู้แทน กรรมการ
- อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีหรือผู้แทน กรรมการ
- อธิบดีกรมการปกครองหรือผู้แทน กรรมการ
- เจ้ากรมอุทกศาสตร์ หรือผู้แทน กรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณหรือผู้แทน กรรมการ
- เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรรมการ
- เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมหรือผู้แทน กรรมการ
- ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
- นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
- อธิบดีกรมชลประทานหรือผู้แทน กรรมการ
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้แทน กรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติหรือผู้แทน กรรมการ
- นาย สุภาพ ภู่ประเสริฐ กรรมการ
- นาย การุญ จันทรางศุ กรรมการ
- นาย ปริญญา นุตาลัย กรรมการ
- นาย ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ กรรมการ
- ผู้อำนวยการกองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กรรมการและเลขานุการ
- หัวหน้าฝ่ายภูมิฟิสิกส์ กรมอุตุนิยมวิทยา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ที่ตั้งสำนักงานคณะกรรมการฯ
กรมอุตุนิยมวิทยา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร โทร 3994547
อำนาจและหน้าที่
- ดำเนินการและประสานงานโครงการและแผนงานต่างๆ ในด้านแผ่นดินไหวและด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและต่างประเทศ รวมถึงติดต่อประสานงานกับสมาคมเปลี่ยนองค์การหรือหน่วยงานเพื่อแลกความรู้ ข้อคิดเห็นและข้อมูล
- จัดโครงการ แผนงาน และดำเนินการศึกษาและวิจัยด้านแผ่นดินไหวและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- เผยแพร่ความรู้เรื่องแผ่นดินไหวให้สาธารณชนทราบ
- เสนอแนะมาตรการและแนวทางป้องกัน การเตือนภัยและการบรรเทาภัยที่เกิดจากแผ่นดินไหว
- ดำเนินการเพื่อให้มีการพัฒนาระบบการตรวจวัดแผ่นดินไหว โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการเตือนภัยและป้องกันภัยแผ่นดินไหว
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯและคณะทำงานเพื่อช่วยปฏิบัติงานตามความเหมาะสมและให้มีอำนาจเชิญผู้แทนส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็นได้
ตัวอย่างกิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน
- ศึกษารอยเลื่อนมีพลังในภาคเหนือ
- ตรวจวัดความสั่นสะเทือนของพื้นดินจากเครือข่ายของ กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมอุทกศาสตร์ และกรมชลประทาน
- ตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดินและอาคารเพื่องานวิศวกรรม ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดโดย กรมอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมโยธาธิกาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
- วางแผนจัดตั้งโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย
- ประสานงานความร่วมมือทางวิชาการตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศเป็นประจำ
- ผลักดันให้มีการออกกฏกระทรวงว่าด้วยการออกแบบสร้างสิ่งก่อสร้างบางประเภทให้สามารถทนแผ่น ดินไหวในเขตความเสี่ยงแผ่นดินไหวต่างๆ ขณะนี้ครอบคลุม 9 จังหวัดในภาคเหนือได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และในภาคกลาง 1 จังหวัดคือ จังหวัดกาญจนบุรี