Link Copied
การพยากรณ์อากาศ
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอนโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี 2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
การพยากรณ์อากาศ
โอโซน+
ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา
ปรากฏการณ์เอนโซ่
ภาวะเรือนกระจก Greenhouse effect
ปัจจัยทางธรรมชาติที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ+
ฤดูกาล,ฤดูกาลของโลก,ฤดูกาลของประเทศไทย
พายุหมุนเขตร้อน+
ชื่อพายุโซนร้อนปี 2565, ดีเปรสชั่น, โซนร้อน, ไต้ฝุ่น
เกณฑ์อากาศ
เวลามาตรฐาน,การประกาศใช้เวลามาตรฐานของประเทศไทย
แผ่นดินไหว+
ภัยธรรมชาติในประเทศไทย
นิยาม "พายุหมุนเขตร้อน" (TROPICAL CYCLONE)
พายุหมุนเขตร้อน คือคำทั่วๆไปที่ใช้สาหรับเรียกพายุหมุนที่เกิดเหนือทะเลหรือมหาสมุทรในเขตร้อนบริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาพที่เจริญเติบโตเต็มที่จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลกมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่นักประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไปเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมากมีลมพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือส่วนซีกโลกใต้ลมจะพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางในทางเดียวกับเข็มนาฬิกายิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุดบางครั้งมีความเร็วลมเกินกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 นอต) ความกดอากาศต่าสุดที่บริเวณศูนย์กลางบางครั้งต่ากว่า 900 เฮกโตปาสคาล (hPa) มีลักษณะอากาศร้ายเกิดขึ้น มีฝนตกหนักมาก บางครั้งมีพายุฟ้าคะนอง ฝนและเมฆมีลักษณะไม่เหมือนกันนักในแต่ละลูก ส่วนใหญ่เป็นแนวโค้งหมุนเข้าหาศูนย์กลาง มีเมฆคิวมูลัส และคิวมูโลนิบัสที่มีฝนอยู่ด้วย เกิดคลื่นสูงใหญ่ในทะเลและน้าขึ้นสูงตรงบริเวณศูนย์กลางพายุมีลักษณะคล้ายกับตาเป็นวงกลมมองเห็นได้จากภาพถ่ายดาวเทียมเรียกว่า "ตาพายุ" เส้นผ่าศูนย์กลางตาพายุเพียงแค่เป็นสิบๆกิโลเมตรเท่านั้น (ประมาณ 15-60 กิโลเมตร) ภายในตาพายุนี้อากาศแจ่มใส มีเมฆบ้างเล็กน้อย ลมพัดอ่อน
พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันตามบริเวณที่เกิดขึ้น เช่น ในอ่าวเบงกอล และในมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า "ไซโคลน" (CYCLONE) ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโกและทางด้านทะเลฝั่งตะวันตกของเม็กซิโกเรียกว่า "เฮอร์ริเคน" (HURRICANE)ในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกกับมหาสมุทรแปซิฟิกใต้และทะเลจีนใต้เรียกว่า "ไต้ฝุ่น" (TYPHOON)
ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้แบ่งพายุหมุนเขตร้อนตามความรุนแรงของพายุดังนี้
1. พายุดีเปรสชั่น (DEPRESSION) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 นอต(63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
2. พายุโซนร้อน (TROPICAL STORM) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 34 นอต(63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไปแต่ไม่ถึง 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
3. ไต้ฝุ่นหรือเฮอร์ริเคน (TYPHOON OR HURRICANE) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)