Link Copied
พายุดีเปรสชันและพายุต่างๆ
พายุดีเปรสชัน - บริเวณความกดอากาสต่ำ - พายุหมุน หรือ พายุไซโคลน
Depressio - Low - Cyclone
เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่อยู่ในระยะเริ่มก่อตัว และระยะที่อ่อนกำลังลง มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางน้อยกว่า 34 นอต ( 63 กม./ชม. )
รูปแบบพายุไซโคลน
Cyclone model
รูปแบบซึ่งใช้แทนลักษณะคุณสมบัติสำคัญของพายุไซโคลนที่แท้จริง
ดีเปรสชันแรก
Primary depression
เป็นพายุดีเปรสชันลูกที่สำคัญที่สุดของกลุ่มหรือระบบดีเปรสชันอันเดิมซึ่งมีดีเปรสชันรองเกิดขึ้น หรือบางครั้งหมายพายุดีเปรสชันลูกที่มีความรุนแรงที่สุดในกลุ่มหรือระบบดีเปรสชันตั้งแต่สองลูกขึ้นไปที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน
ดีเปรสชันรอง
Secondary depression
ดีเปรสชันที่เกิดใกล้หรือเกี่ยวพันกับดีเปรสชันลูกอื่นที่สำคัญกว่าหรือกับดีเปรสชันแรก โดยเกิดในบริเวณที่มีการหมุนเวียนของลมในดีเปรสชันลูกแรก โดยปกติดีเปรสชันตัวรองนี้จะทวีกำลังแรงขึ้นโดยใช้พลังของดีเปรสชันลูกแรกที่มันเกิดร่วมด้วย และในบางครั้งจะมีกำลังแรงขึ้นจนถึงขนาดที่สามารถรวมเอาดีเปรสชันเดิมเข้าไว้กลายเป็นดีเปรสชันลูกเดียว
ดีเปรสชันถาวร
Fermanent depression
บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำปกคลุมอยู่ประจำตลอดทั้งปี และเป็นที่ซึ่งมีดีเปรสชันปรากฎอยู่บนแผนที่ความกดอากาศเฉลี่ยรายปี
ดีเปรสชันกึ่งถาวร
Semi - permanent depression
บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำปกคลุมอยู่ในระยะเวลาหนึ่งโดยเฉพาะของปี และเป็นบริเวณซึ่มีดีเปรสชันปรากฎอยู่บนแผนที่ความกดอากาศเฉลี่ยรายเดือน
กลุ่มดีเปรสชัน
Family of depression
ดีเปรสชันหลายลูกที่เรียงอยู่ติดต่อกันเป็นแถวในแนวปะทะอากาศ (front) เดียวกัน
ดีเปรสชันหลังเขา หรือ ดีเปรสชันภูเขา
Lee depression - orographic depression
ดีเปรสชันที่เกิดขึ้นด้านหลังภูเขา (ด้านลมตกเขา) ตามทางลม
ดีเปรสชันรูปตัววี
V - shaped depression
ดีเปรสชันที่ปรากฎอยู่บนแผนที่อากาศผิวพื้นในบริเวณที่เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ (low) หรือร่องความกดอากาศต่ำ (trough) ซึ่งเส้นความกดเท่าหรือเส้นไอโซบาร์ (isobar) ที่ล้อมรอบดีเปรสชันนั้นมีรูปลักษณะคล้ายตัววี (V) โค้งแหลมยื่นออกไปจากจุดศูนย์กลางของดีเปรสชันส่วนมากยื่นมาทางแถบศูนย์สูตรและส่วนที่เป็นรูปตัววีนั้นอยู่ในร่องความกดอากาศต่ำ
ดีเปรสชันตัวกลาง
Central depression
ดีเปรสชันตัวกลางซึ่งเป็นตัวใหญ่ และมีดีเปรสชันอื่นๆ ที่เล็กกว่าลูกหนึ่งหรือหลายๆ ลูกอยู่รอบลูกที่อยู่ตรงกลางนั้น ดีเปรสชันตัวกลางนี้มักไม่เคลื่อนที่หรือเกือบจะไม่เคลื่อนที่เลย
ดีเปรสชันปิด
Occluded depression
ดีเปรสชันซึ่งมีการปิด หรือออคคลูชัน (occlusion) ของแนวปะทะอากาศเกิดขึ้น ออคคลูชัน (occlusion) ในวิชาอุตุนิยมวิทยา หมายถึงกรรมวิธีของการเกิดแนวปะทะอากาศปิด (occluded front) บางท่านใช้คำนี้จำกัดในกรณีธรรมดา ในขณะที่กรรมวิธีดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นตรงซึ่งยอดของคลื่อนไซโคลน (wave cyclone) หักแหลมขึ้นมา
ร่องความกดอากาศต่ำ
Trough
แถบหรือแนวของอากาศซึ่งมีความกดต่ำเมื่อเทียบกับบริเวณรอบๆ ในระดับเดียวกัน ปรากฎบนแผนที่อากาศในรูปแบบของระบบเส้นความกดเท่าหรือเส้นไอโซบาร์ (isobar) หรือเส้นความสูงเท่า (contour) เกือบเป็นรูปตัววี (V) โค้งแหลมยื่นออกไปจากดีเปรสชันหรือบริเวณความกดอากาศต่ำ เส้นเหล่านี้เกือบจะขนานกัน
ร่องความกดอากาศต่ำพลวัต - รองความกดอากาศต่ำหลังเขา
Dynamic trough - lee trough
ร่องความกดอากาสต่ำที่เกิดขึ้นทางด้านหลังภูเขาหรือด้านปลายลม เกิดในแนวตั้งฉากกับทิศทางลม เช่น เกิดในแนวเหนือใต้เมื่อลมเป็นลมทิศตะวันตก
แนว หรือ แกนร่องความกดอากาศต่ำ
Trough line - axis of trough
แนว หรือแกนซึ่งสมมติขึ้นในบริเวณร่องความกดอากาศต่ำตรงบริเวณเส้นความกดเท่า หรือเส้นไอโซบาร์ (isobar) หรือเส้นความสูงเท่า (contour) มีความโค้งมากที่สุด
แนวอเสถียรภาพ หรือ แนวอากาศไม่ทรงตัว
Instability line
บริเวณ แนวหรือแถบซึ่งไม่ใช่แนวปะทะอากาศ แต่เป็นแนวที่มีปรากฎการณ์การลอยตัวขึ้นของอากาศเนื่องจากความร้อน (convective activity) จึงทำให้มีลักษณะอากาศไม่ดีขึ้น ซึ่งถ้าแนวนี้อยู่ในสภาวะที่เจริญเต็มที่มีพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงเกิดขึ้นด้วยแนวนี้เรียกว่า "แนวสควอลล์ - squall line" เพราะลักษณะอากาศรุนแรงกว่า แนวอเสถียรภาพมีความยาว เป็นร้อยๆ ไมล์ แต่อาจไม่เป็นแนวติดต่อกันก็ได้และมีความกว้างตั้งแต่ 10 ถึง 50 ไมล์ มักเกิดในส่วนที่อุ่นของคลื่นไซโคลน (wave cyclone) แนวดังกล่าวนี้ปกติมีความรุนแรงที่สุดในตอนบ่ายๆ ต่อมาเมื่อไม่นานมานี้ได้นิยมใช้คำว่าแนวสควอลล์แทนคำว่า แนวอเสถียรภาพ
บริเวณคอล หรือ จุดความกดเป็นกลาง
Col - neutral point
ก. บริเวณที่ความกดอากาศมีค่าเกือบเท่ากันอยู่ในระหว่างกลางของหย่อมความกดอากาสต่ำสองหย่อม กับบริเวณความกดอากาศสูงสองบริเวณที่อยู่ตรงกันข้ามซึ่งกันและกันมีลักษณะเป็นรูปหลังอานม้า
ข. เป็นจุดตัดของรองความกดอากาศต่ำ (trough) และลิ่มความกดอากาศสูง (ridge) ในแบบของความอากาศ (pressure pattern) ซึ่งอยู่ในแผนที่อากาศ คือเป็นจุดที่มีความกดอากาศต่ำที่สุดอยู่ระหว่างบริเวณความกดอากาศสูงสองบริเวณและ หรือจุดที่มีความกดอากาสสูงที่สุดอยู่ระหว่างหย่อมความกดอากาศต่ำสองหย่อม
แกนดีเปรสชัน
Axis of depression
เส้นซึ่งลากต่อจุด หรือบริเวรที่มีความกดอากาศต่ำที่สุดในแต่ละระดับ หรือเส้นซึ่งลากผ่านศูนย์กลางของดีเปรสชันในทุกระดับ แกนดีเปรสชันนี้อยู่ในแนวตั้ง
การอ่อนกำลังลงของดีเปรสชัน
Filling of a depression
การที่ความกดอากาศในบริเวณศูนย์กลางของดีเปรสชันมีค่าเพิ่มสูงขึ้นตามเวลา ซึ่งทำให้ดีเปรสชันอ่อนกำลังลง
การแรงขึ้นของดีเปรสชัน
Deepening of a depression
การที่ความกดอากาศในบริเวณศูนย์กลางของดีเปรสชันมีค่าลดลงตามเวลา ซึ่งทำให้ดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้น
การก่อตัวขึ้นใหม่ของดีเปรสชัน
Regeneration of a depression
การทวีกำลังแรงขึ้นหรือการกลับฟื้นตัวขึ้นใหม่ของดีเปรสชันที่กำลังอยู่ในสภาวะที่อ่อนกำลังลง
ดีเปรสชันเคลื่อนถอยหลัง
Retrograde depression
ดีเปรสชันซึ่งเคลื่อนที่อยู่ ได้เปลี่ยนทิศทางใหม่เป็นทิศตรงกันข้ามกับทิศทางเดินเดิม
พายุ
Storm
เป็นปรากฏการณที่ลมพัดแรงจัดซึ่งแสดงถึงสภาวะอากาศไม่ดี
พายุใหญ่
Violent storm
ดูในตารางการกำหนดขนาดความเร็วลมผิวพื้น
ลมสควอลล์
Squall
เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของบรรยากาศ โดยเกิดลมพัดแรงจัดขึ้นจนเป็นพายุในทันทีทันใดเป็นเวลานานนับนาที และหลังจากนั้นลดความเร็วลงอย่างฉับพลัน โดยมากมักมีพายุฟ้าคะนองเกิดรวมอยู่ด้วย
ลมสควอลล์ฟ้าคะนอง
Thunder squall
ลมสควอลล์ที่มีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นลมที่ไหลลงจากเมฆพายุฟ้าคะนองอย่างแรง
ลมสควอลล์เป็นแนว
Line squall
ลมสควอลล์ที่เกิดขึ้นต่อกันเป็นแนวในแนวสควอลล์ (squall line)
ลมสควอลล์ฟ้ากระจ่าง
White squall
ลมสควอลล์ซึ่งไม่มีฝนและในบางครั้งไม่มีแม้แต่เมฆเกิดขึ้นเลย
แนวลมสควอลล์ หรือ แนวพายุฝน
Squall line
แนวแคบๆ (ซึ่งไม่ใช่แนวปะทะอากาศ) ที่เกิดพายุฟ้าคะนองรุนแรงหรืออาจเกิดลมสควอลล์ แนวนี้เคลื่อนที่ได้และในบางครั้งเป็นแนวยาวออกไปไกล
พายุหมุนเขตร้อน หรือ พายุไซโคลนเขตร้อน
Tropical cyclone
คำที่ใช้สำหรับเรียกพายุหมุนที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ บริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่นักประมาณตั้งแต่ 100 กม.ขึ้นไป เกิดขึ้นพร้อมกับลมลมที่พัดรุนแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไปโดยพัดเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา (cyclonically) ในซีกโลกเหนือ ส่วนทางซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด ความกดอากาศต่ำสุดที่บริเวณศูนย์กลางพายุโดยทั่วไปต่ำกว่า 1,000 มิลลิบาร์ มีความชันของความกดอากาศ (pressure gradient) และความเร็วลมแรงกว่าพายุหมุนนอกเขตร้อน (extratropical storms) มีลักษณะอากาศร้ายติดตามมาด้วย เช่น ฝนตกหนักมากกว่าฝนปกติธรรมดาที่เกิดในเขตร้อนมาก บางครั้งมีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นด้วย ฝนและเมฆมีลักษณะไม่เหมือนกันนักในพายุแต่ละลูก ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นแนวโค้งหมุนเข้าหาศูนย์กลางหรือตาพายุ มีเมฆประเภทคิวมูลัส (cumulus) และคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) ที่มีฝนอยู่ด้วย เกิดคลื่นสูงใหญ่ในทะเลและน้ำขึ้นสูงตรงบริเวณศูนย์กลางพายุมีลักษณะคล้ายกับมีตาเป็นวงกลมอยู่มองเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายจากดาวเทียม เรียกว่า "ตาพายุ - eye" เป็นบริเวณเล็กๆ เส้นผ่าศูนย์กลางของตาพายุเพียงแค่เป็นสิบๆ กิโลเมตร เท่านั้น (ประมาณ 15 - 60 กม.) ภายในตาพายุนี้เป็นบริเวณที่มีอากาศแจ่มใสมีเมฆบ้างเล็กน้อยเท่านั้นและมีลมพัดอ่อนพายุหมุนเขตร้อนนี้เกิดขึ้นหลายแห่งในโลก โดยทั่วไปเกิดทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรในเขตร้อนบริเวณใกล้ศูนย์สูตร (ยกเว้นมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้) เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ทำความเสียหายให้แก่ทวีปต่างๆ ทางด้านตะวันออกพายุหมุนเขตร้อนนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กันแล้วแต่ท้องถิ่นที่เกิด เช่น ถ้าเกิดในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีนใต้เรียกชื่อว่า "พายุไต้ฝุ่น - typhoon" ถ้าเกิดในบริเวณมหาสมุทรแอดแลนติกเหนือ ทะเลคาริบเบียน และในอ่าวเม็กซิโก เรียกชื่อว่า "พายุเฮอร์ริเคน - hurricane" ถ้าเกิดในอ่าวเบงกอลและทะเลอาราเบียนในมหาสมุทรอินเดีย เรียกกว่า "พายุไซโคลน - cyclone" ตามข้อตกลงระหว่างประเทศได้จัดแบ่งชั้นของพายุหมุนเขตร้อนตามความรุนแรงของพายุได้ 3 ชั้น ดังนี้.
ก. ดีเปรสชันเขตร้อน (tropical depression) มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางน้อยกว่า 34 นอต( 63 กม./ชม. )
ข.พายุโซนร้อน (tropical storm) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 34 ถึง 64 นอต( 63 - 117 กม./ชม.)
ค. พายุไต้ฝุ่น หรือเฮอร์ริเคน (typhoon or hurricance) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 นอต หรือมากกว่า หรือตั้งแต่ 118 กม./ชม. ขึ้นไป (จาก Glossary of Meteorology, American meteorological society, 1959)
พายุโซนร้อน
Tropical storm
เป็นพายุหมุนเขตร้อนแรงกว่าพายุดีเปรสชั่น มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 34 ถึง 64 นอต ( 63 - 117 กม./ชม.)
ดีเปรสชันเขตร้อน
Tropical depression
ก. เป็นคำที่ใช้ทั่วไป สำหรับดีเปรสชันที่เกิดในเขตร้อน
ข. เป็นการแปรปรวนของลมในเขตร้อน (tropical disturbance) ซึ่งมีความเร็วลมน้อยกว่า 34 นอต (63 กม./ชม.) (หลักการนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อตกลงระหว่างชาติในภูมิภาคนั้น)
ค. เป็นพายุที่มีกำลังอ่อนที่สุด (ขั้นก่อตัว) (ดู depression)
พายุเฮอร์ริเคน
Hurricane
เป็นคำเรียก พายุหมุนเขตร้อน ที่เกิดแถบมหาสมุทรแอตแลติก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 นอต หรือมากกว่า หรือตั้งแต่ 118 กม./ชม. ขึ้นไป
การตรวจจับทางเดินของพายุเฮอร์ริเคน
hurricane tracking
การพิจารณาหาตำแหน่งของพายุหมุนเขตร้อน หรือพายุเฮอร์ริเคนในเวลาต่อเนื่องกันโดยใช้เรดาร์หรือวิธีอื่นตรวจจับที่อยู่ของมัน แทนที่จะลากทางเดินของมันลงบนแผนที่แล้วพิจารณาหาตำแหน่งที่ๆ มันจะเดินต่อไปข้างหน้า
เฮอร์ริเคนไมโครไซสม์
Hurricane microseisms
เป็นคลื่นแผ่นดิน (earth - waves) ที่มีความแรงน้อยมาก มีต้นกำเนิดในทะเลตรงบริเวณทีมีพายุหมุนเขตร้อน หรือตามบริเวณชายฝั่งซึ่งได้รับการกระทบกระเทือนจากพายุกระหน่ำ เราสามารถหาความเป็นมาของพายุและในบางครั้งอาจหาตำแหน่งที่อยู่ของพายุที่รุนแรงได้จากการตรวจรับคลื่นแผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากสถานีตรวจแผ่นดินไหว แล้วนำมาหาตามวิธีสามเหลื่ยม (triangulation)
พายุไต้ฝุ่น
Typhoon
เป็นคำเรียกพายุหมุนเขตร้อน ที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และในทะเลจีนใต้ มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 นอต หรือมากกว่า หรือตั้งแต่ 118 กม./ชม. ขึ้นไป
ซีกอันตราย
Dangerous semicircle
คือบริเวณซีกขวาของพายุนับจากทางเดินพายุ (storm path) ไปทางขวาในซีกโลกเหนือ และไปทางซีกซ้ายในซีกโลกใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่รุนแรงที่สุดมีคลื่นสูงกว่าและลมมีความเร็วรุนแรงกว่าทางซีกอื่นของพายุ เมื่อเรืออยู่ทางซีกนี้ของพายุจะถูกพัดพาไปตามทางเดินของพายุนั้นและอาจอับปางลงได้ ส่วนในอีกซีกหนึ่งของพายุหมุนเรือเดินทะเลสามารถที่จะแล่นได้ เราเรียกซีกนี้ว่า "ซีกเดินเรือ - navigable semicircle"
ซีกเดินเรือ
Navigalbe semicircle
คือบริเวณซีกขวาของพายุนับจากทางเดินพายุ (storm path) ไปทางขวาในซีกโลกเหนือ และไปทางซีกซ้ายในซีกโลกใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่รุนแรงที่สุดมีคลื่นสูงกว่าและลมมีความเร็วรุนแรงกว่าทางซีกอื่นของพายุ เมื่อเรืออยู่ทางซีกนี้ของพายุจะถูกพัดพาไปตามทางเดินของพายุนั้นและอาจอับปางลงได้ ส่วนในอีกซีกหนึ่งของพายุหมุนเรือเดินทะเลสามารถที่จะแล่นได้ เราเรียกซีกนี้ว่า "ซีกเดินเรือ - navigable semicircle" (ดู ซีกอันตราย - dengerous semicircle)
ตาพายุ
Eye fof storm
เป็นบริเวณเล็กๆ ตรงศูนย์กลางพายุมีลักษณะคล้ายกับมีตาเป็นวงกลมอยู่มองเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายดาวเทียม
การเลี้ยวกลับ
Recurvature
การที่พายุเปลี่ยนทางเดินจากเดิมโดยเลี้ยวกลับ ตามปกติพายุหมุนเขตร้อนของซ๊กโลกเหนือเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกในตอนแรก ต่อมาจะค่อยเปลี่ยนทิศทางเดินเลื้ยวโค้งขึ้นสู่ขั้วโลก เมื่อเคลื่อนเข้าสู่ละติจูดกลางจะเคลื่อนตัวโค้งกลับและในที่สุดเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก (กลับทิศกับทางเดินในตอนแรก) ส่วนในซีกโลกใต้การเคลื่อนตัวมีทิศทางกลับกัน
พายุทอร์เนโด หรือ ลมงวง
Tornado
เป็นพายุหมุนที่รุนแรง เกิดจากการหมุนเวียนของอากาศภายใต้เมฆคิวมูโลนิมบัส จะแลเห็นเมฆมีลักษณะเป็นลำพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆคิวมูโลนิมบัส ดูคล้ายกับว่ามีงวงหรือท่อหรือปล่องยื่นลงมา (funnel cloud หรือ tuba) พายุนี้มีอำนาจทำลายได้ร้ายแรงที่สุดในจำพวกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่นๆ
สเปาท์
Spout
เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากลมพัดวนบิดเป็นเกลียว (whirlwind) เห็นได้จากเมฆที่มีลักษณะเป็นลำหรือเป็นกรวยหัวกลับ (funnel cloud) ยื่นลงมาจากฐานของเมฆคิวมูโลนิมบัส และเห็นได้จากพวยน้ำที่พุ่งขึ้นมาเป็นพุ่มประกอบด้วยหยดน้ำพุ่งเป็นฝอยขึ้นจากผิวพื้นทะเลเป็นลำดอกเห็ด หรืออาจเป็นทราย ผงฝุ่น เศษหญ้าหรือฟาง ซึ่งถูกลมพัดลอยขึ้นจากพื้นดินก็ได้
สเปาท์น้ำ พวยน้ำ นาคเล่นน้ำ
Water - spout
เป็นสเปาท์ (spout) หรือพายุทอร์เนโดซึ่งเกิดขึ้นเหนือพื้นน้ำ และมักเกิดบ่อยที่สุดบนพื้นน้ำในเขตร้อน ท้องฟ้าในบริเวณที่เกิดพวยน้ำจะมีเมฆจำพวกคิวมูโลนิมบัส ตรงบริเวณส่วนหนึ่งของฐานเมฆคิวมูโลนิมบัสจะมีเมฆรูปกรวยหงายหรือเมฆงวงยื่นส่วนปลายงวงลงมาจนกระทั่งพบกับพวยน้ำรูปกรวยคว่ำซึ่งเกิดจากการดูดเอาน้ำขึ้นไปจากทะเล มองเห็นเป็นพวยน้ำเกิดขึ้นระหว่างผิวหน้าของทะเลกับเมฆ พวยน้ำบางอันจะเห็นน้ำพุ่งขึ้นไปในอากาศเป็นระยะสูงตั้งสองสามร้อยเมตร และอาจเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานถึงครึ่งชั่งโมง มีลมแรงพัดเข้าหาบริเวณศูนย์กลางของพวยน้ำ ยอดของพวยน้ำอาจเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างไปจากฐาน ทำให้แกนเอียงหรือบิดเบี้ยวแล้วหลุดออกจากกันและสลายตัวไป พายุนี้เทียบกับลมฝุ่นอย่างรุนแรง (dust devil) ที่เกิดบนพื้นดินจะมีความรุนแรงน้อยกว่า
ลำกรวย งวง
Funnel - Funnel column -Trunk
คือเมฆที่เป็นลำหรือเป็นรูปกรวยยื่นออกมาจากฐานของเมฆคิวมูโลนิมบัสและเกิดสเปาท์ขึ้นด้วย เมื่อเมฆดังกล่าวนี้ยื่นลำหรือวงลงมาถึงพื้นดินหรือพื้นน้ำเรียกว่า พายุทอร์เนโด หรือพวยน้ำตามลำดับ
ลมบ้าหมู ลมหมุน
Whirlwind
เป็นคำที่ใช้ทั่วไปกับลำอากาศที่หมุนเป็นวงเล็ก ๆ มีความรุนแรงไม่มากนัก ถ้าเกิดในบริเวณที่มีผงฝุ่นมากจะแลเห็นได้ชัดเจน โดยมีผงฝุ่นลอยวนเข้าหาศูนย์กลางและเคลื่อนที่ไปได้ช้า ๆ บางครั้งจะมองเห็นผงฝุ่นเป็นลำขึ้นไปในระยะสูง ถ้าใช้เป็นคำเฉพาะจะเรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ลมฝุ่นหมุน (dust whirl) ลมฝุ่นอย่างรุนแรง (dust devil) ฯลฯ
ลมฝุ่นหมุน- ลมทรายหมุน - ลมฝุ่นอย่างรุนแรง
Dust whirl - Sand whirl - Dust devil
ลำของผงฝุ่นหรือทรายที่รวมกันเป็นกลุ่ม บางครั้งก็มีเศษหญ้า หรือฟางเล็ก ๆ รวมอยู่ด้วยพัดลอยขึ้นจากพื้นดินหมุนบิดเป็นเกลียวและเป็นลำสูงขึ้นไปในแนวยืน อาจสูงมากหรือน้อยไม่แน่นอน มีขนาดเล็กมักเกิดในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อพายุดังกล่าวก่อตัวเต็มที่หรือเกิดขึ้นอย่างรุนแรงมากจึงเรียกว่า ลมฝุ่นอย่างรุนแรง หรือลมบ้าหมูอย่างรุนแรง (dust devil) มักเกิดในบริเวณแห้งแล้งมีอากาศร้อนจัดในตอนบ่ายเมื่อลมสงบและท้องฟ้าแจ่มใส
ฝุ่น หรือทรายพัดฟุ้ง ฝุ่น หรือทรายพัดลอยละล่อง
Drifting or blowing dust or sand
กลุ่มก้อนของฝุ่น หรือทรายที่ถูกลมพัดลอยขึ้นจากพื้นดินอาจลอยขึ้นไปได้สูงเพียงเล็กน้อยหรือสูงอยู่ในขั้นปานกลาง เกิดที่สถานนีตรวจหรือบริเวณใกล้เคียง
ฝุ่นฟุ้ง หรือทรายฟุ้ง
Drifting dust or drifting sand
เป็นพฤติการณ์ที่ผงฝุ่น หรือทรายที่ถูกลมพัดลอยสูงจากพื้นดินขึ้นไปไม่มากนักไม่ทำให้ทัศนวิสัยในระดับสายตาลดลง
ฝุ่นปลิว หรือทรายปลิว
Blowing dust or blowing sand
เป็นพฤติการณ์ที่ผงฝุ่นหรือทรายถูกลมพัดลอยขึ้นจากพื้นดินได้สูงพอควร (moderate height) ทำให้ทัศนวิสัยในระดับสายตาลดลง
พายุฟ้าคะนอง
Thunderstorm
พายุฟ้าคะนองนี้บางครั้งเรียก พายุไฟฟ้า (electrical storm) โดยทั่วไปเป็นพายุที่เกิดเฉพาะท้องถิ่น เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส มีฟ้าแลบ (lightning) กับฟ้าร้อง (thunder) รวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นมักจะมีลมกระโชกแรง (strong gust) และฝนตกหนัก (heavy rain) เกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บ (hail) ตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น มีน้อยครั้งที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง พายุฟ้าคะนองเป็นผลเนื่องมาจากในเขตร้อนอากาศมีความชื้นมากและมีอุณหภูมิสูงทำให้อากาศไม่มีเสถียรภาพ (instability) หรือบรรยากาศมีอาการไม่ทรงตัวเกิดการผสมคลุกเคล้าจากข้างล่างขึ้นข้างบน และจากข้างบนลงข้างล่าง ในขั้นแรกอากาศหรือบรรยากาศเกิดการไหลขึ้นอย่างรุนแรง (strong convective updraft) และในขั้นต่อมาซึ่งเป็นขั้นสลายตัว (dissipating stage) จะมีกระแสอากาศไหลลงอย่างรุนแรง (strong downdraft) ภายในคอลัมน์ (ช่วง) ของฝน พายุฟ้าคะนองนี้บ่อยครั้งก่อตัวได้สูงถึง 40,000 - 50,000 ฟุต ในบริเวณละติจูดกลาง (mid - latitude) และสูงมากกว่านี้ในเขตร้อน บรรยากาศตอนล่างของชั้นสตราโตสเฟียร์ที่มีเสถียรภาพดีมาก (great stability) เท่านั้นที่สามารถยับยั้งการก่อตัวของเมฆพายุฟ้าคะนองได้ในทางอุตุนิยมวิทยาพายุฟ้าคะนองแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ แล้วแต่ธรรมชาติของกาลอากาศขณะนั้น เช่น พายุฟ้าคะนองแบบมวลอากาศ (air - mass thunderstorm) พายุฟ้าคะนองในแนวสควอลล์ (squall - thunderstorm) และพายุฟ้าคะนองแบบแนวปะทะอากาศ (frontal thunderstorm)
แหล่งกำเนิดของพายุฟ้าคะนอง
Source (region) of thunderstorm activity
บริเวณที่มีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นบ่อยกว่าบริเวณใกล้เคียง เป็นถิ่นที่มีความร้อนสูง ลมสงบ มีความชื้นสูงและอากาศไม่มีเสถียรภาพ
พายุฟ้าคะนองแบบแนวปะทะอากาศ
Frontal thunderstorms
พายุฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นขณะที่แนวปะทะอากาศเคลื่อนที่ผ่าน เป็นพายุที่เกิดขึ้นเนื่องจากอากาศอุ่นยกตัวไหลขึ้นตามลาดของแนวปะทะอากาศ
พายุฟ้าคะนองแบบแนวปะทะอากาศเย็น
Cold front thunderstorm
เป็นแบบของพายุฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นแนวตามแนวปะทะอากาศเย็น หรือนำหน้าแนวปะทะอากาศเย็นมาประมาณสองสามร้อยไมล์ ซึ่งเรารู้จักในนามของแนวอเสถียรภาพหรือแนวสควอลล์ (instability line or squall line)
พายุฝนฟ้าคะนองแบบมวลอากาศ
Air mass thunderstorm
เป็นพายุฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในมวลอากาศที่ไม่มีการทรงตัว (unstable air mass) แต่ไม่ใช่สามาเหตุจากการเคลื่อนผ่านของแนวปะทะอากาศ
พายุฟ้าคะนองแบบอากาศลอยขึ้น
Convective thunderstorm
เป็นพายุฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในเมฆที่มีกระแสอากาศไหลขึ้นอย่างรุนแรง (convective cloud) โดยเฉพาะในเมื่อเมฆนั้นเกิดขึ้นจากสภาวะแปรปรวนของท้องถิ่นนั้น ๆ (local conditions) เช่น ไฟไหม้ป่า หรือเมื่อพื้นดินและภูเขาได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้อากาศที่ตรงนั้นลอยขึ้นและก่อตัวเป็นเมฆประเภทคิวมูลัสอย่างรุนแรง ฯลฯ
พายุฟ้าคะนองแบบอากาศไหลในแนวนอน
Advective thunderstorm
เป็นพายุคะนองที่เกิดขึ้นเนื่องจากอากาศไม่มีการทรงตัวหรือไม่มีเสถียรภาพ (instability) คือเมื่ออากาศเย็นในระดับสูงหรือมวลอากาศอุ่นในระดับต่ำเคลื่อนที่ไป หรือโดยการรวมกันของกรรมวิธีทั้งสองชนิดนี้
พายุน้ำแข็ง
Ice storm - Gleze storm
พายุที่มีน้ำฟ้าแข็งตัวตกลงมา หรือการเกิดน้ำแข็งเคลื่อบบนวัตถุหนามาก เนื่องจากเม็ดฝนหรือเม็ดฝนละอองตกกระทบวัตถุนั้นแล้วแข็งตัว
เส้นไอโซรอนิค หรือเส้นความถี่ของการเกิดพายุฟ้าคะนองเท่า
Isokeraunic line
เป็นเส้นซึ่งลากผ่านหรือโลคัส (locus) ของจุดที่พายุฟ้าคะนองมีความถี่ของการเกิดเท่ากัน
แนวลมพัดสอบในเขตร้อน
Intertropical convergencezone (ITC)
เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแนวสอบของลมบริเวณศูนย์สูตร (equatorial convergence zone) เป็นโซนหรือแนวแคบ ๆ ที่ลมเทรดหรือลมค้าในเขตร้อนของทั้งสองซีกโลกมาบรรจบกัน คือลมเทรดตะวันออกเฉียงเหนือของซึกโลกเหนือ กับลมเทรดตะวันออกเฉียงใต้ของซีกโลกใต้แนว ICT นี้ก็คือเส้นศูนย์สูตรทางอุตุนิยมวิทยา (Meteorological equator)
ร่องความกดอากาศต่ำในกระแสลมตะวันออก
Easterly trough
เป็นร่องความกดอากาศต่ำ (trough) ที่เกิดขึ้นในแนว (belt) ของลมเทรดหรือลมค้าซึ่งมักตั้งฉากกับการไหลของอากาศ และร่องนี้เคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก
ร่องความกดอากาศต่ำในกระแสลมตะวันตก
Westerly trough
เป็นร่องความกดอากาศต่ำ (trough) ที่เกิดขึ้นในแนวของลมตะวันตกบริเวณในละติจูดกลาง โดยปกติเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก ร่องนี้แผ่ขยายไปในแถบของลมตะวันออกในละติจูดต่ำได้ โดยสมทบกับลมตะวันตกในระดับสูงซึ่งอยู่เหนือลมตะวันออกในระดับต่ำ