Link Copied
หมอก
หมอก
Fog
เป็นน้ำในอากาศหรือไฮโดรมีทีเออร์ (hydrometeor) ชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยกลุ่มละอองน้ำขนาดเล็กมากสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าลอยอยู่ในอากาศใกล้พื้นดิน โดยปกติจะทำให้ทัศนวิสัยทางแนวนอนที่ผิวพื้นโลกลดลงเหลือน้อยกว่า 1,000 เมตร ถ้าทัศนวิสัยมากกว่า 1,000 เมตร เรียกว่า หมอกบางหรือหมอกน้ำค้าง (mist) หมอกกับเมฆต่างกันแต่เพียงว่า หมอกนั้นมีฐานอยู่ติดกับพื้นดิน ส่วนฐานเมฆอยู่สูงเหนือพื้นดินขึ้นไปการเกิดหมอก ลักษณะการเกิดคล้ายเมฆ หมอกทุกชนิดเกิดเมื่ออุณหภูมิอากาศมีค่าเท่ากับอุณหภูมิจุดน้ำค้าง ทำให้อากาศเกิดการอิ่มตัว (saturate) แล้วกลั่นตัว (condense) เป็นละอองน้ำเล็กๆ การเกิดหมอกนั้นเกิดขึ้นได้ 2 วิธี คือ วิธีแรก เกิดจากการเย็นลงของอากาศ (Cooling fog) โดยอุณหภูมิของอากาศลดลงจนเท่ากับอุณะเหยอย่างรวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิจุดน้ำค้างมีค่าสูงขึ้น จนเท่ากับอุณหภูมิของอากาศ (Td=T) หมอกจะไม่เกิดขึ้นเมื่อุณหภูมิจุดน้ำค้าง (T=Td) อีกวิธีหนึ่งคือ เกิดจากการเพิ่มความชื้นเข้าไปในอากาศ (Evaporation Fog) โดยอุณหภูมิจุดน้ำค้างต่างจากอุณหภูมิอากาศเกินกว่า 4 ° ฟ. (2.2 ° ซ.)
หมอกน้ำค้าง
Mist
เป็นน้ำในอากาศหรือไฮโดรมีทิเออร์ (hydrometeor) ซึ่งประกอบด้วยละอองน้ำ เล็กมากจนไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือละอองน้ำดูดความชื้น (hydroscopic water droplets) ลอยอยู่ในอากาศ หมอกน้ำค้างมีลักษณะเช่นเดียวกับหมอกแต่บางกว่า เมื่อมีหมอกน้ำค้างเกิดขึ้นเหนือที่ใดมักจะแลดูคล้ายม่านบางสีเทาคลุมอยู่เหนือภูมิประเทศแห่งนั้น ทำให้ทัศนวิสัยที่ผิวพื้นโลกลดลงน้อยกว่าหมอก แต่ยังเห็นได้ไกลเกินกว่า 1 กม. ความชื้นสัมพัทธ์ในหมอกน้ำค้างมักจะน้อยกว่า 95%
หมอกน้ำค้างเป็นสภาพอากาศที่อยู่ระหว่างฟ้าหลัวชื้น (damp haze) กับหมอก
หมอกเป็นปื้น
Fog bank
หมอกซึ่งมองเห็นได้ชัดในระยะไกล ปกติเกิดขึ้นจากสภาพท้องถิ่น หมอกนี้แผ่ขยายปกคลุมพื้นที่เล็ก ๆ กว้างประมาณสองสามร้อยเมตร มักเกิดในทะเล
หมอกเป็นหย่อม
Fog patch
เป็นหมอกซึ่งกระจายออกเป็นแนวไม่สม่ำเสมอกัน เป็นหย่อมๆ หรือ บางส่วน
หมอกชุ่ม
Wet fog
หมอกซึ่งก่อให้เกิดหยดน้ำขนาดใหญ่พอเมื่อเกาะอยู่บนวัตถุทำให้เปียกชื้น
หมอกน้ำแข็ง
Ice fog
หมอกซึ่งประกอบด้วยอนุภาคน้ำแข็งเป็นจำนวนมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 12-100 ไมครอน (micron) ล่องลอยอยู่ในอากาศ หมอกน้ำแข็งมักจะเกิดในเขตละติจูดสูง เมื่ออากาศมีอุณหภูมิต่ำมาก ท้องฟ้าแจ่มใส และลมสงบ เมื่อมองผ่านหมอกจะสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ บางครั้งอาจเกิดวงแสง (halo) ขึ้น
หมอกไรม
Rime fog
หมอกที่เกิดจากหยดน้ำซึ่งเย็นจัดต่ำกว่า 0 ° ซ. และเป็นเหตุให้เกิดไรม (rime) เกาะบนวัตถุกลางแจ้ง หมอกไรมนี้เหมือนกับหมอกน้ำแข็ง (ice fog)
หมอกเย็นจัดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
Supercooled fog
หมอกซึ่งเกิดขึ้นจากหยดน้ำที่เย็นจัดต่ำกว่า 0 ° ซ.
หมอกเกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศไปในแนวนอน
Advection fog
หมอกที่เกิดขึ้นในชั้นต่ำ ๆ ของมวลอากาศชื้นซึ่งเคลื่อนที่ไปบนผิวพื้นที่เย็นกว่าจนทำให้อุณหภูมิของอากาศข้างล่างลดลงต่ำกว่าอุณหภูมิจุดน้ำค้าง หมอกชนิดนี้มักเกิดจากอากาศชื้นเคลื่อนที่ไปบนผิวพื่นน้ำที่เย็นจัด (เช่น หมอกทะเล - sea fog)
หมอกมรสุม
Monsoon fog
หมอกที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศไปในแนวนอน เกิดขึ้นตามบริเวณชายฝั่งในช่วงที่มีลมมรสุม ขณะที่อากาศชื้นและอุ่นเคลื่อนไปบนผิวพื้นที่เย็นกว่า หมอกชนิดนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
หมอกทะเล
Sea fog
เป็นหมอกชนิดที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศไปในแนวนอน (advection fog) เกิดขึ้นเหนือผิวน้ำทะเล โดยอากาศซึ่งอยู่เหนือผิวน้ำที่อุ่นเคลื่อนที่ไปบนผิวน้ำที่เย็นกว่า ทำให้อากาศข้างล่างเย็นลงต่ำกว่าจุดน้ำค้าง
หมอกอากาศเขตร้อน
Tropical air fog
เป็นหมอกชนิดที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของมวลอากาศไปในแนวนอน (advection fog) ซึ่งเกิดขึ้นในทะเลในภูมิภาคเขตร้อน
หมอกเกิดจากการแผ่รังสี
Radiation fog
เป็นหมอกที่เกิดเหนือพื้นดินในเวลากลางคืน และจางหายไปในเวลาเช้า ภายหลังดวงอาทิตย์ขึ้น หมอกชนิดนี้มักเกิดในวันที่อากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส ลมอ่อน และอากาศมีความชื้นสูง เกิดจากในตอนกลางคืน พื้นดินจะคายความร้อนหรือแผ่รังสีออกได้มากเป็นเหตุให้พื้นดินเย็นลง อากาศในชั้นล่างที่อยู่ติดพิ้นดินจะเย็นลงด้วย จนมีอุณหภูมิเท่ากับจุดน้ำค้าง ทำให้ไอน้ำในอากาศที่อยู่ใกล้พื้นดินกลั่นตัวเกิดเป็นหมอก
หมอกพื้นดิน
Ground fog
มีความหมายอย่างเดียวกับหมอกที่เกิดจากการแผ่รังสี ดู radiation fog หมอกชนิดนี้แม้ว่าจะค่อนข้างทึบ แต่ก็อาจจะพอมองเห็นดวงดาวได้ในเวลากลางคืน และมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ในเวลากลางวัน เนื่องจากมีขอบเขตในทางสูงไม่นานนัก
หมอกผสม
Mixing fog
หมอกบางเกิดในช่วงระยะเวลาสั้น เนื่องจากการผสมกันระหว่างมวลอากาศชื้นที่ยังไม่อิ่มตัวสองมวลซึ่งมีอุณหภูมิแตกต่างกัน
หมอกอินเวอร์ชั่นในระดับสูง หรือหมอกผกผันตามสูงในระดับสูง
High inversion fog
หมอกซึ่งเกิดจากเมฆสเตรตัสที่อยู่ใต้ชั้นอุณหภูมิผกผันตามสูง (inversion) โดยการแผ่ขยายของเมฆนี้ลงมาสู่พื้นดินภายใต้สภาวะอุณหภูมิผกผันตามสูง หรืออุณหภูมิอินเวอร์ชั่น (inversion temperature)
หมอกเกิดจากการระเหย
Evaporation fog
หมอกซึ่งเกิดขึ้นโดยการระเหยอย่างรวดเร็วของน้ำจากผิวหน้าน้ำที่อุ่นและกระจายเข้าไปในมวลอากาศเย็นและมีเสถียรภาพคือมีการทรงตัวดี ทำให้มวลอากาศเย็นนั้นอิ่มตัวและเกิดเป็นหมอก
ควันทะเลในเขตอาร์คติค หรือแอนตาร์ติค
Arctic or Antarctic sea smoke
ควันทะเลในเขตอาร์คติค หรือแอนตาร์ติค
หมอกไอน้ำ
Steam fog
หมอกที่เกิดจากการระเหย คือเมื่อไอน้ำระเหยเข้าไปหรือเพิ่มเข้าไปในอากาศซึ่งเย็นจัดกว่ามากและมีการทรงตัวดี ตัวอย่างเช่น มวลอากาศเคลื่อนผ่านแนวน้ำแข็ง (stretches of ice) ก่อนจะผ่านไปเหนือผิวพื้นทะเลที่อุ่น
หมอกในแนวปะทะอากาศ
Frontal fog
หมอกซึ่งเกิดขึ้นในบริเวณแนวปะทะอากาศ โดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ หมอกซึ่งเกิดก่อนแนวปะทะอากาศอุ่น (warm - front pre - frontal fog) หมอกซึ่งเกิดตามหลังแนวปะทะอากาศเย็น (cold - front post - frontal fog) และหมอกซึ่งเกิดขณะแนวปะทะอากาศเคลื่อนผ่าน (frontal - passage fog)
หมอกเกิดก่อนแนวปะทะอากาศ
Pre - frontal fog
หมอกที่เกิดนำหน้าแนวปะทะอากาศอุ่น ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากฝนที่ตกลงจากมวลอากาศอุ่นที่อยู่เหนือพื้นแนวปะทะอากาศ (frontal surface) ตกผ่านมวลอากาศเย็นและเกิดการระเหยขึ้นในมวลอากาศเย็นใกล้พื้นดิน ซึ่งช่วยเพิ่มความชื้นให้กับมวลอากาศเย็นนั้น และทำให้อุณหภูมิจุดน้ำค้างมีค่าสูงขึ้นจนทำให้เกิดหมอก
หมอกเกิดตามหลังแนวปะทะอากาศ
Post - frontal fog
เป็นหมอกซึ่งเกิดเนื่องจากการแผ่รังสีและเกิดเหนือพื้นดินที่ชุ่มชื้นภายหลังจากแนวปะทะอากาศผ่านพ้นไปแล้ว
หมอกลาดเนินเขา
Upslope fog
หมอกที่เกิดตามลาดเนินเขาด้านรับลม เนื่องจากอากาศยกตัวสูงขึ้นตามลาดเขาทำให้เกิดการขยายตัวแบบแอเดียแบติค (adiabatic expansion) แล้วเย็นลงจนถึงอุณหภูมิจุดน้ำค้างจนไอน้ำกลั่นตัวกลายเป็นหมอก
การกำจัดหมอก - การสลายตัวของหมอก
Fog dispersal - Fog dissipation
การกำจัดหรือลดปริมาณหมอกลงในบริเวณพื้นที่จำกัดพื้นที่หนึ่ง โดยการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติหรือโดยการกระทำของมนุษย์ หมอกซึ่งเย็นจัดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (supercooled fog) สามารถทำให้สลายตัวไปได้โดยการหว่านน้ำแข็งแห้งหรือซิลเวอร์ไอโอไดด์ (dry ice or silver iodide) เข้าไปในหมอก ส่วนหมอกอุ่น (warm fog) สามารถกำจัดได้โดยวิธี FIDO
FIDO (Fog Investigation Dispersal Operations) เป็นวิธีกำจัดหมอกซึ่งอังกฤษเป็นผู้ค้นคิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเผาน้ำมันเบนซิน (gasoline) หรือเชื้อเพลิงอื่นให้เป็นทางไปตามข้าง ๆ ทางวิ่งของสนามบิน (airfield runway)
หมอกตื้น
Shallow fog
เป็นหมอกซึ่งปกคลุมพื้นดิน ต่ำกว่า 2 เมตร