Link Copied
อุทกวิทยา
อุทกวิทยา
Hydrology
วิชาวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับน้ำที่มีอยู่บนในโลก เช่น ศึกษาสาเหตุการเกิด การหมุนเวียนของน้ำในที่ต่าง ๆ ตามกาลเวลา การทรงอยู่ คุณสมบัติทางฟิสิกส์และเคมีตลอดจนคุณลักษณะของน้ำในลำน้ำ ทะเลสาป และน้ำใต้ดิน รวมทั้งผลที่ได้จากน้ำฟ้า น้ำระเหย การนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ การควบคุมและการอนุรักษ์
อุทกอุตุนิยมวิทยา
Hydrometeorology
อุตุนิยมวิทยาที่เกี่ยวข้องกับน้ำในบรรยากาศ เช่น ฝน เมฆ หิมะ ลูกเห็บ และผลกระทบอันเนื่องจากสิ่งเหล่านี้ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่นการเกษตรกรรม หรือการป้องกันน้ำท่วม เป็นต้น
พื้นที่รับน้ำ
Catchment area ,Basin Area,watershed
พื้นที่ซึ่งเมื่อฝนตกลงมาแล้ว น้ำจะไหลรวมกันลงสู่แหล่งน้ำ
ปริมาณน้ำไหล หรืออัตราน้ำไหล
Discharge
ปริมาณน้ำในลำน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่หน้าตัดของลำน้ำต่อหนึ่งหน่วยเวลา เช่นลูกบาศก์เมตรต่อวินาที่
การสมดุลย์ของน้ำ
Water balance
ปริมาณน้ำที่ได้รับ สูญเสีย และสะสมในบริเวณพื้นที่ที่กำหนดในช่วงเวลาหนึ่ง
วัฏจักรทางอุทกวิทยา
Hydrological cycle ,Water Cycle
การหมุนเวียนเปลี่ยนสถานะของน้ำในโลก คือน้ำจากพื้นโลกและมหาสมุทรระเหยขึ้นไปในอากาศกลายเป็นเมฆแล้วกลายเป็นฝนตกลงมายังพื้นโลก ไหลลงสู่แม่น้ำลำธารหรือซึมลงใต้ดินสะสมเป็นน้ำใต้ดินและน้ำในมหาสมุทร แล้วน้ำเหล่านี้จะระเหยกลายเป็นไอขึ้นไปในอากาศอีกวาระหนึ่งหมุนเวียนกันอยู่เช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
น้ำท่า
Runoff
น้ำที่ไหลไปตามทางน้ำ
ระดับน้ำ
Water stage
เป็นความสูงของผิวน้ำจากระดับมาตรฐานที่กำหนด
ระดับน้ำในแม่น้ำ หรือระดับน้ำท่า
River stage
ความสูงของผิวน้ำในแม่น้ำจากระดับมาตรฐาน
ไฮโดรกราฟ หรือกราฟน้ำท่า
Hydrograph
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำ หรือระดับน้ำกับเวลา
ความสัมพันธ์ของระดับน้ำกับอัตราน้ำไหล
Rating curve
เส้นโค้งความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำกับปริมาณน้ำ
ความชื้นของดิน
Soil moisture
ปริมาณน้ำ รวมทั้งไอน้ำที่มีอยู่ในดิน(ไม่อิ่มตัว)
ความชื้นสัมบูรณ์ของดิน
Absolute moisture of the soil (Ha)
ปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในดิน ระบุเป็นเปอเซนต์ของมวลดินแห้งในแต่ละระดับ
ความชื้นสัมพัทธ์ของดิน
Relative moisture of the soil
ความชื้นสัมพัทธ์ของดินในระดับความลึกต่าง ๆ กัน หาได้จากสมการ 100 Ha He เมื่อ Ha เป็นค่าความชื้นสัมบูรณ์ของดิน และ He เป็นค่าความชื้นสัมบูรณ์ของดินมาตรฐานซึ่งมีค่า pf = 2.7 (หมายถึงความชื้นเทียบเท่า - moisture equivalent)
ความชื้นเทียบเท่า
Moisture equivalent
จำนวนน้ำที่เหลืออยู่ในดิน เมื่อดินอยู่ภายใต้แรงหนีศูนย์กลาง (centrifugal force) ที่มีขนาด 1,000 เท่าของแรงกราวิทัต หรือแรงดึงดูดของโลก (gravitational force) ซึ่งมีค่าโดยประมาณเท่ากับความจุความชื้นสนาม (field capacity) (pF = 2.7)
ความชื้นที่มีอยู่ของดิน
Available moisture of the soil (Hd)
เป็นค่าผลต่างระหว่างความชื้นสัมบูรณ์ (Ha) และจุดเหี่ยว (wilting point - Cm) Ha = Ha - Cm
เส้นความชื้น
Moisture profile
เส้นโค้งแสดงการเปลี่ยนแปลงความชื้นของดินตามความลึก
สภาพพื้นดิน
State of ground
ลักษณะความเปียกแห้งของพื้นดินที่มองเห็น
ดินอิ่มตัว
Saturated soil
ดินที่มีน้ำอยู่เต็มตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน
การดูดความชื้น
Hygroscopicity
ความสามารถของสารในการดูดความชื้นจากบรรยากาศที่ไม่อิ่มตัวต่อ (with - respect to) ผิวหน้าของน้ำบริสุทธิ์
น้ำในดิน หรือน้ำถูกดูดซึม
Hygroscopic water
น้ำ หรือความชื้นในดินซึ่งจับยึดแน่นเป็นเยื่อบาง ๆ รอบเม็ดดิน แรงจับยึดนี้มีมากจนพืชไม่สามารถดูดน้ำไปใช้ได้ และน้ำไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยแรงดึงดูดของโลกและแรงดูดซึม (capillary force) บางทีเรียกว่า hygroscopic moisture
น้ำที่พอหาได้ หรือ น้ำที่พืชดูไปใช้ได้
Available water
ความชื้นในดินที่พืชสามารถนำไปใช้ได้
การแทรกซึม หรือการไหลซึม
Infiltration
การไหลซึมของน้ำจากผิวดินเข้าไปในดิน
ความจุการแทรกซึม
Infiltration capacity
ปริมาณน้ำฝนสูงที่สุดที่ดินชนิดหนึ่งสามารถดูดซึมไว้ได้ภายใต้สภาวะที่กำหนด
สัมประสิทธิ์ของการไหลซึมลง
Permeability
ความสามารถในการซึมผ่าน :
1. คุณสมบัติของวัสดุที่ยอมให้น้ำซึมผ่านได้เมื่อวัสดุนั้นอิ่มตัว
2. ตัวชี้บอกถึงความสามารถในการระบายน้ำของดิน
ศักย์ของการซึมขึ้น
Capillary potential
ศักย์ซึ่งทำให้ดินดูดซึมน้ำที่มีอยู่มีค่าเท่ากับผลคูณระหว่างความสูงของน้ำที่ซึมขึ้นมาจากดิน กับอัตราเร่งของความถ่วงของโลก (acceleration of gravity) ในทางปฏิบัติการตรวจวัดมักใช้ค่า pF ซึ่งเป็นค่า logarithm ฐาน 10 ของศักย์ของการซึมขึ้น
ฮิสเตอริซิส
Hysteresis
ในทางอุทกวิทยา หมายถึงผลต่างระหว่างค่าต่าง ๆ ของ pF (ดู capillary potential) ในเมื่อดินกลับชื้นขึ้น หรือแห้งไปกว่าเดิม โดยกำหนดค่าความชื้นของดินไว้
ศักย์เนื่องจากความกดของน้ำนิ่ง
Potential due to hydrostatic pressure
ซึ่งจำกัดความโดยสูตร = vP เมื่อ v แทนปริมาตรของามวลของน้ำไหลหนึ่งหน่วย และ P เป็นค่าความกดของน้ำนิ่ง (hydrostatic pressure)
ความจุความชื้นสนาม
Field capacity
หมายถึงความชื้นของดินระบุเป็นเปอเซนต์ของมวลดินแห้ง พิจารณาขณะเมื่อน้ำที่ไหลจากดินซึ่งเปียกชุ่มหยุดไหล มีค่าตรงกันกับค่า pF คือประมาณ 2.7
จุดเหี่ยว
Wilting point
เมื่อความชื้นของดินในเขตรากพืชลดลงถึงจุดนี้ จะทำให้พืชเหี่ยวเฉาขาดน้ำตาย เพราะไม่สามารถดูดน้ำมาทดแทนการคายน้ำได้
การไหลซึมขึ้นไปของความชื้นในดิน
Capillary rise of soil moisture
น้ำภายในดินซึมขึ้นไปข้างบนโดยการซึมขึ้นตามช่องทางเล็ก ๆ ตามความชันของความต่างศักย์ (potential gradient)
ความหนาแน่นรวมของดิน
Bulk density of soil
น้ำหนักของดินแห้งตัวอย่างต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร (รวมทั้งอากาศในดินด้วย) มีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
ความหนาแน่นของเนื้อดิน
Actual density of soil
น้ำหนักของดินแห้งตัวอย่างต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร ไม่รวมอากาศซึ่งติดอยู่ในโพรงของดินที่ไม่ถูกรบกวน มีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ปกติมักมีค่าสูงกว่าความหนาแน่นรวมของดิน (bulk density of soil)
ระดับน้ำใต้ดิน
Water table
เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างดินชั้นบนซึ่งยังไม่อิ่มน้ำ และดินชั้นล่างซึ่งชุ่มน้ำ (saturated soil) จนอิ่มตัว
น้ำผิวดิน
Surface Runoff
น้ำที่ไหลบ่าไปตามผิวดิน