Link Copied
เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา
Meteorological instrument
เครื่องมือที่ใข้ในการตรวจวัดตำแหน่งที่ ปริมาณ หรือคุณภาพของธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยา (meteorological elements) (จากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2516) อย่างเดียวหรือหลายอย่างในขณะเดียวกัน
เครื่องบันทึก
Recording instrument
เครื่องมือที่ใช้บันทึกค่าการ เปลี่ยนแปลงของธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยาตามเวลาซึ่งบันทึกค่าออกมาในรูปของกราฟ โดยใช้เครื่องจักรกล การถ่ายภาพ หรือกรรมวิธีทางไฟฟ้า
เครื่องมืออ่านค่าโดยตรง
Direct reading instrument
เครื่องมือที่ใช้อ่านค่าผลการตรวจวัดธาตุประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะหรือหลาย ๆ อย่างตามเวลาที่กำหนดให้ โดยการอ่านค่าด้วยตาเปล่า
หลอดบูร์ดอน
Bourdon tube
หลอดโลหะรูปโค้งมีหน้าตัดเป็นรูปรีซึ่งใช้ในเทอร์มอมิเตอร์และบารอมิเติอร์บางชนิด เทอร์มอมิเตอร์ชนิดหลอดบูร์ดอนนั้นประกอบด้วยหลอดบูร์ดอนซึ่งบรรจุของเหลวจนเต็มหลอด การขยายตัวของของเหลวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจะทำให้รัศมีความโค้งของหลอดเพิ่มขึ้น และความโค้งนั้นอาจวัดได้จากการเลื่อนออกไปของปลายหลอด ส่วนบารอมิเตอร์ชนิดหลอดบูร์ดอนประกอบด้วยหลอดบูร์ดอนที่เป็นสูญญากาศและมีวิธีการวัดแบบเดียวกัน ทั้งสองกรณีนี้ความโค้งของหลอดใช้วัดจากผลต่างระหว่างความกดดันภายในหลอดกับความกดดันภายนอก
เรดิออมิเตอร์ หรือเครื่องวัดการแผ่รังสี
Radiometer
เครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจวัดการแผ่รังสี (radiation) หรือพลังงานการแผ่รังสี (radiant energy)
ไพร์เรดิออมิเตอร์
Pyrradiometer
เครื่องมือสำหรับตรวจวัดปริมาณการแผ่รังสีรวม - total radiation (รังสีจากดวงอาทิตย์- solar และรังสีจากโลก - terrestrial
ไพร์เรดิออมิเตอร์รวม
Net Pyrradiometer
ไพร์เรดิออมิเตอร์รวม
เครื่องวัดสมดุลย์การแผ่รังสี
Radiation balance meter
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณการแผ่รังสี คือทั้งรังสีที่ส่งลงมาและส่งกลับขึ้นไป (รังสีจากดวงอาทิตย์ - solar รังสีจากพื้นโลก - terrestrial surface และรังสีจากบรรยากาศ - atmospheric) โดยส่งผ่านพื้นราบหรือเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดค่าแตกต่างของปริมาณรังสีรวม ซึ่งตกลงบนพื้นทั้งสองข้างของพื้นผิวราบ
ไพร์เรดิออมิเตอร์ที่ใช้วัดบนพิ้นที่ทรงกลม
Spherical pyrradiometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณรังสีรวม ซึ่งตกบนพื้นผิวโค้ง
ไพรานอมิเตอร์
Pyranometer
โซลาริมิเตอร์ หรือเครื่องวัดรังสีจากดวงอาทิตย์
Solarimeter
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ซึ่งได้รับบนพื้นที่ครึ่งซีกโลก เครื่องมือชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้วัดรังสีจากท้องฟ้าหรือรังสีของโลก (Sky or global radiation) เครื่องมือชนิดนี้อาจจะใช้รวมกับเครื่องมือซึ่งสามารถกั้นรังสีจากดวงอาทิตย์ได้ เพื่อที่จะใช้ตรวจวัดรังสีกระจัดกระจายของดวงอาทิตย์ (diffuse solar radiation) ซึ่งมีชื่อเรียกเครื่องมือชนิดนี้ว่า ดิฟฟิวซอมิเตอร์ (diffusometer)
ไพรานอมิเตอร์รวม หรือเครื่องวัดรังสีสุทธิจากดวงอาทิตย์
Net pyranometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณรังสีสุทธิของรังสีจากดวงอาทิตย์ (คือรังสีของดวงอาทิตย์ที่ตกลงมาและสะท้อนกลับขึ้นไป)
ไพรานอมิเตอร์ที่ใช้วัดบนพื้นที่ทรงกลม หรือเครื่องวัดรังสีจากดวงอาทิตย์บนพื้นที่ทรงกลม
Spherical pyranometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดค่ารังสีดวงอาทิตย์ซึ่งตกบนพื้นผิวโค้ง
ไพราโนกราฟ
Pyranograph
เครื่องวัดรังสีจากดวงอาทิตย์แบบกราฟ
โซลาริกราฟ
Solarigraph
คือเครื่องไพรานอมิเตอร์ หรือโซลาริมิเตอร์ ซึ่งสามารถบันทึกค่าที่ตรวจวัดได้โดยอัตโนมัติ
ไพราโนแกรม
Pyranogram
กราฟวัดรังสีจากดวงอาทิตย์
โซลาริแกรม
Solarigram
ค่าบันทึก (record) เป็นเส้นกราฟที่ได้จากเครื่องไพราโนกราฟ หรือโซลาริกราฟ
ดิฟฟิวซอมิเตอร์
Diffusometer
ดู Pyranometer หรือ solarimeter
รีเฟลคทอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดรังสีสะท้อน
Reflectometer
คือ เครื่องไพรานอมิเตอร์ ซึ่งติตตั้งโดยการคว่ำหน้าลงเพื่อใช้ประโยชน์ในการตรวจวัดรังสีดวงอาทิตย์ที่สะท้อนขึ้นมาจากพื้นดิน
ไพร์จีออมิเตอร์
Pyrgeometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดรังสีจากบรรยากาศ (atmospheric radiation) ซึ่งตกลงบนพื้นราบสีดำที่มีอุณหภูมิเท่ากับอากาศรอบ ๆ
ไพร์จีออมิเตอร์รวม
Net pyrgeometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดค่าความแตกต่างของรังสีจากโลก ซึ่งตกลงบนพื้นทั้งสองข้างของพื้นผิวราบ
ไพร์จีออมิเตอร์ที่ใช้วัดบนพื้นที่ทรงกลม
Spherical pyrgeometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดค่ารังสีคลื่นยาว ซึ่งตกบนพื้นผิวโค้ง
โบลอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดพลังงานการแผ่รังสี
Bolometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดความเข้มของพลังงานการแผ่รังสี (radiant energy) หลักการของเครื่องมือนี้ คือความต้านทานไฟฟ้าจะเปลี่ยนไปเมื่อการแผ่รังสีเปลี่ยน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงรังสีที่ตกลงบนแผ่นโลหะเพียงแผ่นเดียว หรือทั้ง 2 แผ่นของเครื่องมือจะทำให้ความต้านทานไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป
โบโลแกรม หรือกราฟวัดพลังงานการแผ่รังสี
Bologram
ค่าบันทึก (record) เป็นเส้นกราฟที่ได้จากเครื่องโบลอมิเตอร์
ไพร์ฮีลิออมิเตอร์ หรือเครื่องวัดความเข้มของรังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์
Pyrheliometer
ไพร์ฮีลิออมิเตอร์ หรือเครื่องวัดความเข้มของรังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์
แอคทินอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดความเข้มของพลังงานการแผ่รังสี
Actinometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดความเข้มของรังสีตกโดยตรงจากดวงอาทิตย์ หรือความเข้มของพลังงานการแผ่รังสีบนพื้นที่ซึ่งตั้งได้ฉากกับรังสี หรือ คือเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณรังสีรวมซึ่งตกบนพื้นผิวราบ
คอมเพนเซทเตด ไพร์ฮีลิออมิเตอร์
Compensated pyrheliometer
เครื่องไพร์ฮีลิออมิเตอร์ ซึ่งใช้หลักการเปรียบเทียบค่าปริมาณความร้อนของแผ่นโลหะชนิดเดียวกัน 2 แผ่น โดยที่แผ่นโลหะหนึ่งได้รับปริมาณการแผ่รังสีโดยตรง แต่อีกแผ่นหนึ่งถูกปิดไว้ไม่ให้รับปริมาณการแผ่รังสีเลย ซึ่งจะทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของอิเลคตรอนขึ้นตามหลักของจูล (joule effect)
ไพร์ฮีลิออกราฟ
Pyrheliograph
แอคทิโนกราฟ
Actinograph
เครื่องไพร์ฮีลิออมิเตอร์หรือเครื่องแอคทินอมิเตอร์ ซึ่งสามารถบันทึกค่าที่ตรวจวัดได้บนแผ่นกราฟ
ไพร์ฮีลิโอแกรม
Pyrheliogram
แอคทิโนแกรม
Actinogram
ค่าบันทึก (record) เป็นเส้นกราฟที่ได้จากเครื่องไพร์ฮีลิออกราฟ หรือแอคทิโนกราฟ
ยูวี โดซิมิเตอร์ หรือเครื่องวัดรังสีอุลตราไวโอเลต
UV dosimeter
เครื่องมือแบบง่าย ๆ ซึ่งใช้ในการตรวจวัดปริมาณรังสีอุลตราไวโอเลต ที่มีอยู่ในรังสีจากดวงอาทิตย์และจากท้องฟ้าในบรรยากาศ โดยการประมาณค่าจากสีของของเหลวซึ่งได้รับรังสีอุลตราไวโอเลตโดยตรง
ไซอานอมิเตอร์
Cyanometer
เครื่องมือที่ใช้สำหรับพิจารณาค่าความเป็นสีฟ้า (bluness) ของท้องฟ้า
เทเลโฟทอมิเตอร์
Telephotometer
เป็นเครื่องโฟทอมิเตอร์ ซึ่งออกแบบสำหรับตรวจวัดค่าความส่องส่วางของวัตถุหรือความเข้มของแสงในระยะไกล
สเปคโตรโฟทอมิเตอร์
Spectrophotometer
เป็นเครื่องโฟทอมิเตอร์ ซึ่งดัดแปลงสำหรับใช้ในการตรวจวัดการกระจายของสเปคตรัมของลำแสง (luminous flux) ในลำแสงสว่าง หรือใช้ในการตรวจวัดความเข้มของแสงซึ่งเป็นฟังค์ชั่น (function) ของความยาวคลื่น
สเปคโตรสโคปละอองไอน้ำ
Water - vapour spectroscope
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดความเข้มของรังสีที่ถูกดูดกลืน ซึ่งอยู่ในช่วงของสเปคตรัมที่มา สามารถดูดกลืนรังสีของละอองไอน้ำได้
ลูซิมิเตอร์
Lucimeter
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดค่าความเข้มเฉลี่ยของรังสีโดยตรงจากดวงอาทิตย์ (direct solar radiation) และรังสีกระจัดกระจายจากท้องฟ้า (diffuse sky radiation) ซึ่งเรียกว่า solar global radiation ที่บริเวณใกล้ ๆ ผิวพื้นโลก ในระหว่างช่วงเวลาที่กำหนดให้
แอลบีโดมิเตอร์
Albedometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดพลังงานของการสะท้อนรังสี หรือค่าแอลบีโด (albedo) ของผิวพื้น ตัวอย่างเช่น ใช้วัดค่าแอลบีโดของเมฆหรือค่าแอลบีโดของผิวพื้นลักษณะต่าง ๆ เช่น พื้นหญ้า หรือหิมะ เป็นต้น
แอลบีโดกราฟ
Albedograph
เป็นเครื่องมือแอลบีโดมิเตอร์ ซึ่งสามารถบันทึกค่าที่ตรวจวัดได้โดยอัตโนมัติ
เสกลวัดสีน้ำเงินของท้องฟ้าแบบลิงค์
Linke blue sky scale
เสกลของลำดับชั้นของสีมาตรฐาน 9 แบบ เรียงจากสีขาวถึงสีฟ้าเข้ม หรืออุลตรามารีน (ultramarine) ใช้สำหรับเปรียบเทียบค่าสีน้ำเงินของท้องฟ้า
เทอร์มอมิเตอร์ตุ้มดำ
Black - bulb thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งบรรจุสารที่มีความไวไว้ในกะเปาะแก้วสีดำ หรือในกะเปาะที่เคลือบด้วยสีดำ เพื่อที่จะให้กะเปาะแก้วนั้นทำหน้าที่เหมือนกับวัตถุดำ (black body) เมื่อนำไปติดตั้งไว้ในตู้โปร่งแสงและเป็นสูญญากาศ เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้อาจใช้วัดปริมาณรังสีตก (insolation) ของดวงอาทิตย์ได้
ฮีลิโอกราฟ
Heliograph
เครื่องมือซึ่งใช้บันทึกช่วงระยะเวลาของแสงแดด หมายถึงช่วงระยะเวลาซึ่งรังสีดวงอาทิตย์มีความเข้มพอที่จะทำให้เกิดรอยไหม้บนกระดาษซึ่งอาบน้ำยาไว้
แผ่นบันทึกแสงแดด (เป็นแผ่น)
Sunshine record (card)
แผ่นบัตรบันทึกช่วงระยะเวลาของแสงแดดที่ได้จากการตรวจวัดของเครื่องบันทึกแสงแดด
สเปคโตรฮีลิโอกราฟ
Spectroheliograph
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจดวงอาทิตย์ โดยวิธีการถ่ายภาพเงาของดวงอาทิตย์ (image of the sun ) โดยถ่ายภาพแสง monochromatic (คือ แสงซึ่งมีความยาวคลื่นเพียงคลื่นเดียว หรือมีสีเดียวของสเปคตรัม) โดยมากมักจะเป็นแสงของธาตุไฮโดรเจน (hydrogen) ฮีเลียม (helium) และ /หรือ ธาตุแคลเซียมที่ถูกไอออนไนซ์แล้ว (ionized calcium)
แบแลนซ์มิเตอร์
Balance meter
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดส่วนประกอบของรังสีชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือผลรวมของรังสีชนิดต่าง ๆ ซึ่งได้รับในระดับที่กำหนดให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณพื้นผิวโลก
เทอร์มอมิเตอร์ (เทอร์โมมิเตอร์) หรือเครื่องวัดอุณหภูมิ
Thermometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดอุณหภูมิ หรือระดับความร้อน เทอร์มอมิเตอร์ชนิดธรรมดาประกอบด้วยหลอดแก้วปลายข้างหนึ่งตัน อีกข้างหนึ่งทำเป็นตุ้มบรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ไว้ภายในหลอดแก้ว ตอนบนเหนือของเหลวเป็นสูญญากาศ ข้างหลอดแก้วมีขีดเสกลบอกอุณหภูมิเป็นองศาไว้ เมื่อปรอทหรือแอลกอฮอลได้รับความร้อนขยายตัวขึ้นไปหยุดอยู่ ณ ที่ขีดเสกลใดก็อ่านอุณหภูมิที่จุดนั้น เทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้กันโดยมากเป็นแบบเซนติเกรด หรือเซลเซียส และฟาเรนไฮต์ แบบเซนติเกรด หรือเซลเซียส แบ่งเสกลระหว่างขีดเยือกแข็งและขีดเดือดเป็น 100 องศา ส่วนแบบฟาเรนไฮต์มีขีดเยือกแข็งอยู่ที่ 32 องศา และขีดเดือดอยู่ที่ 512 องศา (จากพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2516) เทอร์มอมิเตอร์แบ่งออกได้เป็น 6 แบบ (แล้วแต่การสร้าง) คือ เทอร์มอมิเตอร์แบบบรรจุก๊าซ (gas thermometer) เทอร์มอมิเตอร์แบบบรรจุของเหลวในแก้ว (liquid - in - glass thermometer ) เทอร์มอมิเตอร์แบบเปลี่ยนรูปร่าง (deformation thermometer) เทอร์มอมิเตอร์ระบบไฟฟ้า (electrical thermometer) เทอร์มอมิเตอร์ชนิดบรรจุของเหลวในโลหะ (liquid - in - metal thermometer) เทอร์มอมิเตอร์แบบใช้เสียง (sonic thermometer)
เทอร์โมกราฟ หรือ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบกราฟ
Thermograph
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งใช้บันทึกค่าอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา โดยบันทึกลงบนกระดาษที่พันรอบกระบอกลานนาฬิกาซึ่งหมุนไปตามเวลา เทอร์โมกราฟที่ใช้กันโดยมากเป็นแบบโลหะสองชนิดประกบกันแล้วขดเป็นวง (bimetallic strip) หรือแบบหลอดบูร์ดอน (Bourdon tube) ชนิดโลหะประกบกันนั้นมีปลายข้างหนึ่งยึดติดกับตัวเครื่อง อีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับแขนปากกา การยืดและหดของโลหะประกบเนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง จะติดต่อไปยังกระเดื่องกลไกของแขนปากกาดึงปลายปากกาให้บันทึกค่าลงบนกระดาษกราฟตามความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศ ส่วนแบบหลอดบูร์ดอน ดูรายละเอียดในเรื่องของ Bourdon tube
เทอร์โมแกรม หรือกราฟวัดอุณหภูมิ
Thermogram
กระดาษกราฟบันทึกค่าอุณหภูมิที่ได้จากการตรวจวัดบนเครื่องเทอร์โมกราฟ ตามปกติจะบันทึกอุณหภูมิประจำวันหรือประจำสัปดาห์ (ดู thermograph ประกอบ)
เทอร์มอมิเตอร์แบบแกว่ง
Sling thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งผูกติดกับแผ่นโลหะบาง ๆ โดยมีสายรัดไว้ให้แน่น ปลายด้านหนึ่งติดกับสายลวดสลิงและต่อกับที่จับสำหรับผู้ตรวจใช้จับและแกว่งได้โดยรอบ เพื่อที่จะทำให้เกิดการถ่ายเทอากาศดีขึ้น ทำให้การอ่านค่าถูกต้องขึ้นด้วย
เทอร์มอมิเตอร์แบบบรรจุของเหลว
Liquid thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้ของเหลวซึ่งไวต่อความร้อนบรรจุอยู่ในภาชนะที่เป็นหลอด ใช้ความแตกต่างของอัตราการขยายตัวของของเหลวและของหลอดเป็นเครื่องวัดค่าอุณหภูมิ ของเหลวที่ใช้บรรจุในหลอดอาจจะเป็นเอททิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) ทอลูอีน (toluene) ปีโตรเลียม (petroleum) หรือปรอทก็ได้
เทอร์มอมิเตอร์แบบบรรจุปรอท
Mercury thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ชนิดใช้ของเหลว ซึ่งของเหลวที่ใช้คือปรอท (จุดเยือกแข็ง - 38.8 ° ซ.
เทอร์มอมิเตอร์แบบบรรจุแอลกอฮอล์
Alcohol thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ชนิดใช้ของเหลว ซึ่งของเหลวที่ใช้คือแอลกอฮอล์ (จุดเยือกแข็ง -130 ° ซ.)
เทอร์มอมิเตอร์แบบใช้โลหะประกบ
Bimetallic thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งใช้วัตถุที่มีความไว ประกอบด้วยแผ่นโลหะ 2 ชนิด ซึ่งมีสัมประสิทธิ์ของการขยายตัวต่างกัน นำมาเชื่อมติดเป็นแผ่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิทำให้แผ่นโลหะที่ประกบกันนั้นมีรูปร่างหรือความโค้งเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการตรวจวัดค่าอุณหภูมิได้ เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้เป็นแบบเปลี่ยนรูปร่าง (deformation thermometer)
เทอร์มอมิเตอร์แบบถ่ายอากาศ
Aspirated thermometer
เทอร์โมมิเตอร์แบบถ่ายอากาศ สามารถวัดค่าอุณหภูมิ โดยใช้พัดลมดูดอากาศบังคับให้อากาศหมุนเวียน ภายใน
เทอร์มอมิเตอร์แบบถ่ายอากาศ
Ventilated thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งวัดค่าอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศโดยไม่ต้องใช้เรือนเทอร์มอมิเตอร์มาตรฐานทางอุตุนิยมวิทยา แต่ใช้เครื่องบังแสงแดดชนิดอื่นและบังคับให้อากาศเกิดการหมุนเวียนขึ้นโดยใช้พัดลมดูดอากาศ
เทอร์มอมิเตอร์สูงสุด
Maximum thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งใช้วัดค่าอุณหภูมิสูงสุดที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลาที่กำหนดให้ ตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาหนึ่งวัน เทอร์มอมิเตอร์สูงสุดใช้ของเหลวบรรจุในหลอดแก้ว มีคอคอดตีบในรูอยู่ระหว่างกะเปาะกับก้านหลอดที่แบ่งเสกลไว้ ขณะเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ของเหลวเช่นปรอทในกะเปาะขยายตัวออกดันปรอทในลำหลอดแก้วให้ผ่านคอคอดตีบเข้าไปในลำหลอดแก้วจนถึงอุณหภูมิสูงสุดเมื่ออุณหภูมิลดลงปรอทในลำหลอดแก้วจะค้างอยู่ในลำไม่สามารถไหลกับลงกะเปาะได้เอง เราจึงสามารถอ่านค่าอุณหภูมิสูงสุดได้
เทอร์มอมิเตอร์ต่ำสุด
Minimum thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งใช้วัดค่าอุณหภูมิต่ำสุดที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลาที่กำหนดให้ ตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาหนึ่งวัน เทอร์มอมิเตอร์ต่ำสุดใช้แอลกอฮอล์บรรจุในหลอดแก้ว และมีก้านชี้ (index) ทำด้วยแก้วอยู่ในลำหลอดแก้ว เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นของเหลวจะไหลผ่านก้านชี้ขึ้นไปตามลำหลอด เมื่ออุณหภูมิลดลงของเหลวหดตัวจะดึงเอาก้านชี้ตามลงไปด้วย เนื่องจากแรงดึงดูดผิวจนถึงจุดที่อุณหภูมิลดลงต่ำสุด และจะค้างอยู่ที่นั้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น การติดตั้งเทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้ต้องวางในแนวนอนอ่านค่าอุณหภูมิต่ำสุดได้จากปลายก้านชี้ด้านที่ห่างจากกะเปาะ
เทอร์มอมิเตอร์แบบซิกส์
Six's thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชื่อ ซิกส์ โดยรวมเอาเทอร์มอมิเตอร์สูงสุดและต่ำสุดเข้าไว้ในอันเดียวกัน สามารถวัดอุณหภูมิสูงสุดและอุณหภูมิต่ำสุดได้ในระหว่างช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้
เทอร์มอมิเตอร์ใต้ดิน
Soil thermometer - Geothermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งใช้วัดค่าอุณหภูมิของดินที่ระดับความลึกใต้ดินต่าง ๆ กัน
เรือนเทอร์มอมิเตอร์ หรือตู้สกรีน
Thermometer screen - thermometer shelter
สิ่งก่อสร้างซึ่งป้องกันไม่ให้เครื่องมือบางชนิด เช่น เทอร์มอมิเตอร์ หรือไซครอมิเตอร์ ได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์โดยตรง ป้องกันฝน และป้องกันไม่ให้เกิดการควบแน่นขึ้นในขณะเดียวกันจะต้องสร้างให้มีการถ่ายเทอากาศตามธรรมชาติด้วย เรือนเทอร์มอมิเตอร์มีลักษณะเป็นตู้เหลี่ยมมีขนาดพอเหมาะทาสีขาวฝาตู้ทำเป็นบานเกล็ดทุกด้าน หลังคาควรทำสองชั้นเพื่อให้มีช่องว่างสำหรับถ่ายเทอากาศ การติดตั้งควรตั้งให้พอดีกับระดับสายตาเพื่อสะดวกแก่การอ่าน และหันประตูตู้ไปทางขั้วโลกเพื่อกันไม่ให้แสงแดดส่องเข้าไปถูกเทอร์มอมิเตอร์ได้เมื่อเปิดประตูออกทำการอ่าน
เรือนเทอร์มอมิเตอร์แบบสตีเวนสัน
Stevenson screen
เรือนเทอร์มอมิเตอร์ หรือตู้สกรีนที่ใช้ในทางอุตุนิยมวิทยาซึ่งได้ชื่อมาจากผู้ประดิษฐ์ และตู้สกรีนแบบนี้ได้รับการดัดแปลงในหลายประเทศเป็นตู้ไม้ทาสีขาวมีฝาเป็นบานเกล็ดสองชั้น (ดู thermometer screen) ในตู้มีทั้งเทอร์มอมิเตอร์สูงสุด ต่ำสุด และเทอร์มอมิเตอร์ตุ้มแห้ง ตุ้มเปียก (dry - and wet - bulb thermometer) ด้วย
เทอร์มอมิเตอร์ระบบไฟฟ้า
Electrical thermometer
เป็นเทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้ธาตุที่มีคุณสมบัติไวต่อกระแสไฟฟ้า ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของความร้อน เช่น เทอร์มอมิเตอร์แบบใช้ความต้านทาน (resistance thermometer)
เทอร์มอมิเตอร์ระบบความต้านทาน
Resistance thermometer
เป็นเทอร์มอมิเตอร์ระบบไฟฟ้า ซึ่งวัดค่าอุณหภูมิได้จากการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าของวัตถุตัวนำ เช่น ลวดแพลตตินั่ม หรือลวดนิเกิ้ล โดยวัตถุตัวนำนั้นเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้ต้องสร้างให้มี time constants (ช่วงเวลาที่เข็มชี้ในเครื่องวัดเลื่อนไปชี้ตรงตามค่าที่เป็นจริง) สั้นมาก และวัดได้ถูกต้องแม่นยำที่สุด เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้ส่วนมากใช้กับเครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosondes)
เทอร์มอมิเตอร์ระบบเสียง
Acoustic thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งวัดค่าอุณหภูมิได้จากการเปลี่ยนแปลงความเร็วของเสียงทำให้ค่าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป
เทอร์มอมิเตอร์แบบใช้ก๊าซ
Gas thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งวัดค่าอุณหภูมิโดยใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติทางความร้อนของก๊าซ คืออุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงไปตามความกดหรือปริมาตรของก๊าซที่เปลี่ยนแปลงไป เทอร์มอมิเตอร์ชนิดนี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ.- ก. แบบที่ให้ปริมาตรของก๊าซคงที่ และความกดเปลี่ยนแปลงตามคุณสมบัติทางความร้อนของก๊าซ ข. แบบที่ให้ความกดของก๊าซคงที่และปริมาตรเปลี่ยนแปลงตามคุณสมบัติทางความร้อนของก๊าซ เทอร์มอมิเตอร์แบบใช้ก๊าซ เป็นเทอร์มอมิเตอร์ที่วัดได้ถูกต้องแม่นยำที่สุดในบรรดาเทอร์มอมิเตอร์ทั้งหมด จึงใช้เป็นเครื่องมือมาตรฐานในการวัดอุณหภูมิ
อินฟาเรดเทเลส หรือเทเลเทอร์มอสโคพ
Infra - rad telescope - telethermoscope
เครื่องมือซึ่งใช้วัดค่าอุณหภูมิของวัตถุที่มีละอองไอน้ำอยู่ด้วย โดยอาศัยการแผ่รังสีอินฟาเรด จากเครื่องในช่วงคลื่น 8 - 10 (ไมครอน) ทั้งนี้เพราะบรรยากาศของโลกจะโปร่งบางมาก (very transparent) ระหว่างช่วงคลื่นนี้ของสเปคตรัม เทเลเทอร์มอสโคพเป็นเครื่องเทเลสโคปที่ใช้วัดอุณหภูมิ ติดตั้งที่สถานีตรวจอากาศเพื่อวัดอุณหภูมิของเครื่องกำบัง เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา (instrument shelter) ที่ติดตั้งอยู่กลางแจ้งไม่ให้ถูกแดด ลม ฝน หรือหิมะ ฯลฯ
วาลลอท - ฮีลิออเทอร์มอมิเตอร์
Vallot - heliothermometer
เครื่องมือซึ่งใช้วัดค่าอุณหภูมิโดยประมาณ โดยการวัดค่าอุณหภูมิใต้ผ้าสีดำ ซึ่งทิ้งไว้ให้ได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์
บารอมิเตอร์ (บาโรมิเตอร์) หรือเครื่อง (มาตร) วัดความกดอากาศ
Barometer
เครื่องมือสำหรับวัดความกดของอากาศหรือบรรยากาศ บารอมิเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในทางอุตุนิยมวิทยามี 2 ชนิด คือ บารอมิเตอร์ปรอท (mercury barometer) และแอนเนอร์รอยด์ บารอมิเตอร์ (aneroid barometer) หรือบารอมิเตอร์ตลับ
บารอมิเตอร์ปรอท
Mercury barometer
บารอมิเตอร์ซึ่งใช้หลักขั้นมูลฐาน คือ ความกดอากาศหรือบรรยากาศจะต้องสมดุลย์กับน้ำหนักของปรอทในลำหลอดแก้วที่คว่ำอยู่ในอ่างปรอท ดังนั้น ความสูงของปรอทในลำหลอดแก้วจะขึ้นอยู่กับความกดอากาศ บารอมิเตอร์อาจแบ่งออกได้เป็น 3 พวก ตามหลักการสร้างของแต่ละชนิด คือ พวกที่สร้างเป็นแบบกระปุกปรอท (cistern barometers) แบบกาลักน้ำ (siphon barometers) และแบบชั่งน้ำหนัก (weight barometers)
บารอมิเตอร์แบบชั่งน้ำหนัก
Weight barometer
บารอมิเตอร์ปรอทซึ่งใช้หลักของการชั่งน้ำหนักปรอทที่บรรจุอยู่ในลำหลอดหรือในกระปุก บารอมิเตอร์แบบนี้บางชนิดอาจออกแบบให้บันทึกค่าความกดเองได้
บารอมิเตอร์แบบไซฟอน หรือกาลักน้ำ
Siphon barometer
บารอมิเตอร์ปรอทซึ่งประกอบด้วยหลอดบรรจุปรอทเป็นรูปตัวยู (U) และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดทั้งสองข้างเท่ากัน บารอมิเตอร์แบบนี้ไม่ใช่มาตรฐาน แต่มักใช้ในกรณีพิเศษเฉพาะอย่าง
บารอมิเตอร์แบบใช้มาตราส่วนสัมพันธ์กับความกดอากาศ
Compensated scale barometer
บารอมิเตอร์แบบใช้มาตราส่วนสัมพันธ์กับความกดอากาศ
บารอมิเตอร์แบบคิว
Kew pattern barometer
บารอมิเตอร์ปรอทซึ่งมีกระปุกปรอทติดแน่นอยู่กับที่ การเปลี่ยนแปลงของระดับปรอทในลำหลอดจะเป็นสัดส่วนกับค่าความกดอากาศ การแบ่งเสกลบนลำหลอดให้หลักการเปลี่ยนแปลงของระดับปรอทในกระปุกซึ่งเป็นสัดส่วนกับการเปลี่ยนความกดอากาศหรือบรรยากาศ บารอมิเตอร์แบบนี้คล้ายกับบารอมิเตอร์แบบฟอร์ติน ผิดกันตรงที่ไม่ต้องปรับระดับปรอทในกระปุกปรอทในเมื่อจะทำการอ่านค่า (ดู Fortin barometer)
บารอมิเตอร์ที่ใช้บนเรือ
Marine barometer
บาโรมิเตอร์ปรอทซึ่งใช้บนเรือออกแบบสร้างโดยให้มีการตีบหรือคอดในลำหลอดเพื่อกันไม่ให้ปรอทในลำหลอดกระเพื่อมหรือแกว่งในขณะที่เรือโคลงและการติดตั้งมีจุดยึดกับตัว ตัวเรือนบาร์โรเมตรสามารถทำให้ตัวเรือนบาร์โรเมตรตั้งตรงได้
บารอมิเตอร์แบบปรับแต่งระดับปรอทในกระปุก
Adjustable cistern barometer
บารอมิเตอร์แบบปรับแต่งระดับปรอทในกระปุก
บารอมิเตอร์แบบฟอร์ติน
Fortin barometer
บารอมิเตอร์ปรอทซึ่งจะต้องปรับแต่งผิวหน้าของปรอทให้ได้ระดับคงที่ หรือระดับศูนย์ของเสกลก่อนที่จะทำการอ่าน หลักของเครื่องมือนี้คือ เมื่อความกดอากาศเปลี่ยนแปลงไประดับปรอทในกระปุกปรอทจะเปลี่ยนไปด้วย จึงต้องปรับแต่งปริมาตรของกระปุกปรอทให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงเพื่อให้ระดับปรอทในกระปุกอยู่คงที่ ๆ ระดับศูนย์ของเสกล โดยหมุนปุ่มข้าง ๆ บารอมิเตอร์เพื่อปรับระดับปรอทในกระปุกปรอทให้แตะเข็มงาช้าง (ระดับศูนย์ของเสกล) ที่ติดอยู่ในกระปุก
บารอมิเตอร์ภูเขา
Mountain barometer
บารอมิเตอร์ปรอทซึ่งได้ขยายเสกลออกไปให้แตกต่างจากบารอมิเตอร์ธรรมดาเพื่อให้สามารถวัดค่าความกดอากาศได้ทั้งในระดับต่ำ และระดับสูงบนภูเขา
บารอมิเตอร์มาตรฐานสัมบูรณ์
Absolute standard barometer
บารอมิเตอร์ซึ่งใช้วัดค่าความกดอากาศได้เป็นค่าความกดมาตรฐานที่แท้จริง โดยไม่ต้องมีการหักแก้ค่าใด ๆ อันเนื่องจากข้อผิดพลาดต่าง ๆ
บารอมิเตอร์ธรรมดา
Normal barometer
บารอมิเตอร์ปรอทซึ่งมีความถูกต้องแม่นยำสามารถใช้เป็นเครื่องวัดความกดมาตรฐาน และได้ปรับแต่งให้เข้ามาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานสากล
บารอมิเตอร์มาตรฐานแห่งชาติ
National standard barometer
บารอมิเตอร์ซึ่งประเทศสมาชิกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ได้กำหนดหรือระบุไว้ และได้รับการยินยอมให้ใช้เป็นบารอมิเตอร์มาตรฐานของประเทศนั้น ๆ
บารอมิเตอร์มาตรฐานแห่งภาค
Regional standard barometer
บารอมิเตอร์ซึ่งได้รับการยินยอมให้เป็นบารอมิเตอร์มาตรฐานสำหรับภูมิภาคใด ภาคหนึ่ง ตามข้อตกลงของการร่วมมือกันระหว่างภูมิภาคที่ตั้งขึ้น
บารอมิเตอร์แบบบันทึกรายงาน
Recording barometer
บารอมิเตอร์ซึ่งบันทึกการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศตามเวลา โดยบันทึกต่อเนื่องกันในรูปของกราฟ
กล่องใส่บารอมิเตอร์
Barometer case - barometer box
กล่องซึ่งออกแบบสำหรับใช้ใส่บารอมิเตอร์ปรอท เพื่อให้ปลอดภัยจากการกระเทือน และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างกระทันหัน ส่วนใหญ่กล่องใส่บารอมิเตอร์มักจะมีที่จับให้บารอมิเตอร์แขวนอยู่ในแนวยืน
กระปุกปรอทของบารอมิเตอร์
Barometer cistern
หลักในการสร้างบารอมิเตอร์ปรอทประกอบด้วยหลอดแก้วยาว 1 เมตร ปลายข้างหนึ่งตันใส่ปรอทไว้แล้วคว่ำปลายที่เปิดลงในกระปุกหรืออ่างที่ใส่ปรอทไว้โดยให้หลอดแก้วตั้งตรงปลายหลอดแก้วด้านที่เปิดจะจุ่มอยู่ในปรอทที่อยู่ในกระปุกหรืออ่าง ดังนั้น กระปุกปรอทจึงหมายถึงภาชนะส่วนล่างที่ใส่ปรอทโดยมีปลายหลอดแก้วจุ่มอยู่ และพื้นผิวหน้าของปรอทในกระปุกกว้างกว่าผิวหน้าของปรอทในลำหลอดแก้ว กระปุกปรอทแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีปริมาตรคงที่ (ดู Kew pattern barometer) และแบบปริมาตรไม่คงที่ (ดู Fortin barometer)
เข็มงาช้าง
Ivory point
เข็มซึ่งส่วนใหญ่ทำด้วยงาช้างติดอยู่ตรงข้างบนเหนือกระปุกปรอท และให้ปลายเข็มชี้ลงมาใช้สำหรับเป็นจุดตั้งระดับศูนย์ของปรอทในบารอมิเตอร์แบบฟอร์ติน โดยที่ต้องปรับผิวหน้าปรอทให้แตะปลายเข็มงาช้างเพื่อให้อยู่ที่ขีดศูนย์พอดีก่อนที่จะทำการตรวจวัดทุกครั้ง
เทอร์มอมิเตอร์ประจำเครื่องวัดความกดอากาศ
Attached thermometer
เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งติดอยู่ตรงกึ่งกลางของบารอมิเตอร์ปรอท กระเบาะของเทอร์มอมิเตอร์ต้องอยู่ภายในกรอบโลหะของตัวบารอมิเตอร์ เพื่อที่จะให้ค่าอุณหภูมิที่อ่านได้เป็นค่าที่ใกล้เคียงที่สุดของอุณหภูมิของหลอดโลหะและลำปรอท
การกระเพื่อมของปรอท
Pumping (of barometer)
คือปรากฏการณ์ซึ่งปรอทในลำหลอดแก้วของบารอมิเตอร์ปรอทเคลื่อนที่ขึ้นลงในทางตั้งอย่างรวดเร็ว การกระเพื่อมนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศรอบ ๆ เครื่องวัดเพราะเกิดลมกระโชก ถ้าเครื่องมือนี้ติดตั้งอยู่บนเรือการกระเพื่อมอาจเกิดเนื่องจากเรือโคลงอีกด้วย
บารอมิเตอร์ตลับ หรือเครื่องวัดความกดอากาศแบบตลับ หรือแอนเนอรอยด์บารอมิเตอร์
Aneriod barometer
บารอมิเตอร์วัดความกดอากาศโดยอาศัยการโป่งและแฟบของตลับลูกฟูกซึ่งสูบเอาอากาศออกแต่เพียงบางส่วน ตลับลูกฟูกนี้มีแหนบสปริงยึดทั้งสองด้าน (ด้านบนและด้านล่าง) ของตลับไว้ การโป่งและแฟบของตลับลูกฟูกขึ้นอยู่กับค่าผลต่างระหว่างความกดภายในตลับและความกดภายนอกตลับ คือ ถ้าความกดภายนอกมีค่ามากกว่า ตลับลูกฟูกจะแฟบลง และถ้าความกดอากาศภายนอกต่ำกว่าแหนบสปริงก็จะดีดตัวออกดึงให้ตลับโป่งออก
ความเชื่องช้าของบารอมิเตอร์ตลับ
Creeping (lag) of aneroid barometer
ข้อบกพร่องของบารอมิเตอร์ตลับ คือ ถ้าความกดอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและรวดเร็ว การเคลื่อนที่ของเข็มชี้ของบารอมิเตอร์ตลับซึ่งขึ่นอยู่กับค่าความกดอากาศจะเชื่องช้ากินเวลากว่าเข็มชี้จะชี้และบันทึกค่าของความกดอากาศที่ถูกต้องบนแผ่นกราฟ
บารอมิเตอร์แบบโลหะ
Metallic barometer
บารอมิเตอร์ที่ทำด้วยโลหะทุกชนิดอาจเรียกว่า แอนเนอรอยด์บารอมิเตอร์ หรือบารอมิเตอร์ตลับก็ได้
กระเปาะแอนเนอรอยด์ หรือกระเปาะรูปตลับ
Aneroid capsule
กระเปาะโลหะซึ่งประกอบด้วยโลหะบาง ๆ ประกับเข้าด้วยกันข้างในมีอากาศอยู่เพียงบางส่วน (เกือบเป็นสูญญากาศ) ทั้งนี้เพื่อจะทำให้รูปร่างของกระเปาะคงอยู่ไม่ยุบแฟบลงเพราะความกดอากาศหรือบรรยากาศ รูปร่างของกระเปาะนี่จะเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศ
บาโรกราฟ หรือเครื่องวัดความกดอากาศแบบกราฟ
Barograph
เครื่องวัดความกดอากาศแบบกราฟ ดู Recording barometer (บารอมิเตอร์ แบบบันทึกรายงาน)
กราฟความกดอากาศ หรือบาโรแกรม
Barogram
ค่าบันทึกที่ได้จากกราฟสำหรับบันทึกความกดอากาศของเครื่องบาโรกราฟ
บาโรกราฟแบบลูกลอย
Float barograph
บารอมิเตอร์แบบกาลักน้ำ (siphon barometer) ซึ่งบันทึกค่าได้โดยการเคลื่อนที่ของลูกลอยที่ลอยอยู่บนปรอทในกระปุก ลูกลอยนี้จะไปทำให้เข็มเคลื่อนที่และบันทึกค่าความกดอากาศขณะนั้นไว้บนกราฟที่ติดอยู่กับกระบอกซึ่งหมุนตามนาฬิกา (rotating drum)
เครื่องวัดความสูง หรือมาตรวัดสูง (แอลติมิเตอร์) แบบใช้ความกด
Pressure altimeter
เครื่องมือสำหรับใช้วัดความสูงของวัตถุจากระดับที่กำหนดไว้ เป็นบารอมิเตอร์ตลับ (aneroid barometer) ซึ่งดัดแปลงมาใช้วัดค่าความสูง โดยนำความสัมพันธ์ระหว่างความกดอากาศซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามความสูง (pressure - height relations) ในบรรยากาศมาตรฐาน (standard atmosphere) มาใช้ด้วยการเปลี่ยนความกดอากาศเป็นความสูง ดังนั้นเครื่องวัดความสูงจะบอกค่าความสูงตามเข็มชี้ (indicated altitude) ซึ่งค่าที่อ่านออกมาได้นั้นบ่อยครั้งอาจจะผิดไปจากความสูงที่แท้จริง (actual height) เครื่องวัดความสูงอาจตั้งให้วัดค่าความสูงจากระดับใดที่เลือกเอาไว้ก็ได้ ในทางปฏิบัติโดยทั่วไปใช้ระดับทะเลปานกลาง (mean sea level) หรือระดับความกดคงที่ (constant pressure surface) เช่นที่ระดับความกด 1013.2 มิลิบาร์ (หรือที่ระดับปรอทสูง 29.92 นิ้ว) หรือระดับความกดของความสูงที่สนามบิน (airport height)
การตั้งเครื่องวัดความสูง
Altimeter setting
การนำเอาค่าความกดบรรยากาศไปใช้กับเสกลของเครื่องวัดความสูงแบบใช้ความกด (pressure altimeter) เพื่อให้วัดความสูงได้ถูกต้อง ดังนั้น เครื่องมือนี้จึงสามารถบอกค่าความสูงของเครื่องบินเหนือระดับพื้นผิวโลกเฉลี่ยที่ใช้อ้างอิงได้ เช่น เมื่อบินอยู่เหนือพื้นดินจะได้ค่าความสูง (วัดจากพื้นดิน) โดยการหักแก้ค่าความกดที่สถานีลงสู่ระดับทะเลปานกลางตามหลักของบรรยากาศมาตรฐานขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO Standard Atmosphere) ถ้าบินอยู่หนือมหาสมุทรความสูงที่วัดได้จะนับจากระดับทะเลปานกลาง โดยใช้ค่าความกดมาตรฐานที่ระดับทะเล (1013.2 มิลิบาร์) เป็นหลักในการเทียบและความสูงที่ได้คือ pressure altitude Micro barograph บาโรกราฟชนิดละเอียด หรือไมโครบาโรกราฟ
บาโรกราฟแบบเสกลขยาย
Open scale barograph
เครื่องบารอมิเตอร์แบบบันทึก (recording barometer) ซึ่งมีความไวมากสำหรับบันทึกการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศตามระยะเวลา โดยใช้เสกลที่ขยายให้เห็นเด่นชัด
ไมโครบาโรแวร์โอกราฟ
Micro barovariograph
บารอมิเตอร์แบบบันทึกซึ่งมีความไวมาก ใช้สำหรับบันทึกค่าการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศในระยะเวลาสั้น ๆ โดยเทียบกับความกดเดิมซึ่งยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เครื่องมือชนิดนี้ในบางครั้งก็เรียกว่า บาโรกราฟชนิดละเอียด หรือไมโครบาโรกราฟ (micro - barograph) เช่นเดียวกัน
ไมโครบาโรแกรม
Micro barogram
ค่าบันทึกที่ได้จากเครื่องบาโรกราฟ หรือเครื่องไมโครบาโรแวร์โอกราฟ
ฮิพซอมิเตอร์
Hypsometer
เครื่องมือซึ่งใช้ในการหาค่าความกดอากาศหรือบรรยากาศโดยการพิจารณาจากจุดเดือดของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ ที่สถานีตรวจอากาศ ฮิพซอมิเตอร์นี้จะมีความไวเพิ่มขึ้นเมื่อความกดอากาศลดลง ดังนั้น เครื่องมือนี้จึงเหมาะที่จะใช้งานในที่สูง ๆ และอาจใช้เป็นเครื่องมือสำหรับประมาณค่าความสูงได้จากความกดอากาศที่หาได้ทำให้สามารถคำนวณหรือเทียบความสูงของที่นั้น
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลม หรือมาตรวัดลม
Anemometer
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดความเร็ว หรือวัดทั้งทิศทางและความเร็วลม
แอนนีมอมิเตอร์แบบบันทึก
Recording anemometer
แอนนีมอมิเตอร์แบบบันทึก
อเนโมกราฟ หรือเครื่องวัดลมแบบกราฟ
Anemograph
แอนนีมอมิเตอร์ซึ่งบันทึกค่าการเปลี่ยนแปลงของทิศทางและความเร็วลมตามเวลาเป็นเส้นกราฟ
อเนโมแกรม หรือกราฟวัดลม
Anemogram
ค่าบันทึกที่อ่านได้ (เส้นกราฟ) จากเครื่องวัดลมแบบกราฟ
ระดับที่ติดตั้งเครื่องวัดลม
Anemometer level
หมายถึง ก. ความสูงนับจากพื้นดินถึงที่ติดตั้งเครื่องวัดลม ข. บางครั้งใช้เป็นค่าความสูงอย่างคร่าว ๆ ของเครื่องวัดลม ค. ระดับที่อยู่เหนือระดับพื้นดินซึ่งเป็นระดับที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นเกลียวลมของเอคแมน (Ekman spiral) ใต้ระดับนี้เรียกว่าชั้นขอบเขตผิวพื้น (surface boundary layer) และเหนือระดับดังกล่าวเป็นระดับเอคแมน (Ekman layer) ความสูงของระดับที่ติดตั้งเครื่องวัดลมนั้นไม่แน่นอนคือประมาณ 10 - 100 เมตร
ถุงวัดลม
Wind sleeve - Wind sock
เครื่องมือที่ใช้วัดทิศทางลมในบริเวณสนามบินเล็กเพราะสามารถมองเห็นได้ง่ายจากข้างบน ประกอบด้วยแผ่นผ้าเย็บเป็นรูปกรวย ปากกรวยเย็บติดกับแหวนโลหะซึ่งมีด้ามยึดติดกับเสาเครื่องมือนี้สามารถที่จะหมุนไปรอบ ๆ แกนของยอดเสาได้ เมื่อลมพัดมาปากกรวยจะหันรับลมและปลายกรวยชี้ไปในทิศทางเดียวกับลมซึ่งพัดมา
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบใช้ความกด
Pressure anemometer
เครื่องวัดลมซึ่งใช้หลักการของหลอดพิทอท (Pitot tube)
หลอดพิทอท
Pitot tube
หลอดซึ่งปลายข้างหนึ่งปิดและอีกข้างหนึ่งเปิดไว้ นำไปติดตั้งโดยให้ปลายด้านที่เปิดหันเข้ารับการไหลของของเหลว เนื่องจากเมื่อของเหลวไหลเข้าไปในหลอดหรือในท่อความกดในท่อจะเพิ่มขึ้น จึงสามารถวัดความกดทางพลศาสตร์ของของเหลวได้ ความเร็วลมหรือการไหลของของเหลวสามารถคำนวณได้จากค่าแตกต่างของความกดที่เกิดจากการอัดหรือความกดทั้งหมด (total pressure) และความกดสถิตย์ (static pressure) ซึ่งก็คือความกดทางพลศาสตร์จะเป็นอัตราส่วนกับ (ความเร็วของการไหลของของเหลว)2
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบใช้หลอดความกด
Pressure tube anemometer
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบใช้หลอดความกด
ไดนส์แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบไดนส์
Dines anemometer
เครื่องวัดลมที่สร้างโดยใช้หลักของหลอดความกด (pressure tube) หรือหลอดพิทอท (pitot tube) ความกดอากาศที่เพิ่มขึ้นเมื่ออากาศหรือลมเข้าไปในหลอดเข้าสู่เครื่องมือและแรงดูด (suction) ที่เกิดขึ้น เมื่อลมพัดผ่านเข้าไปในท่อที่เจาะรูเล็ก ๆ มากมายเอาไว้ ทั้งสองอย่างนี้จะไปทำให้ลูกลอยที่อยู่ในเครื่องวัดความกด (manometer) เคลื่อนที่และจะส่งผลออกมาบนเสกลที่อ่านค่าออกมาเป็นความเร็วลม
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบแผ่นความกด
Pressure plate anemometer
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบแผ่นความกด
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบแผ่นกระดก
Swinging plate anemometer
เครื่องวัดลมซึ่งมีส่วนประกอบเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบางทำด้วยไม้หรือโลหะอย่างเบาติดอยู่ที่ยอดศรลม แผ่นโลหะนี้ติดอยู่กับแขนในแนวนอน (วางด้านแบนในแนวนอน) และสามารถกระดกขึ้นลงได้เมื่อมีลมพัดปะทะ แผ่นสี่เหลี่ยมนี้หันหน้ารับลมอยู่เสมอ เมื่อลมพัดปะทะแผ่นสี่เหลี่ยมนี้จะกระดกขึ้น การกระดกของแผ่นโลหะทำมุมกับแนวยืนจะเป็นสัดส่วนกับกำลังลม
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบลูกถ้วย
Cup anemometer
เครื่องวัดลมซึ่งประกอบด้วยลูกถ้วยที่มีลักษณะเป็นครึ่งทรงกลมหรือแบบทรงกรวยมีจำนวน 3 หรือ 4 ลูกก็ได้ติดอยู่กับแกนซึ่งต่อยื่นออกมาในแนวนอนจากเสาวัดลมที่เป็นแกนตั้งลูกถ้วยนี้เมื่อถูกลมพัดจะหมุนได้รอบแกนเสา เราสามารถวัดความเร็วลมได้โดยวัดจำนวนรอบของการหมุนของลูกถ้วย วิธีที่ใช้มากที่สุดคือต่อแกนของถ้วยไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อให้การหมุนของถ้วยไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (magneto) และต่อสายจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้านี้ไปยังมาตรวัดความเร็วลม เมื่อลูกถ้วยหมุนจะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นแรงเคลื่อนไฟฟ้าวัดได้เป็นฟังค์ชั่นกับเวลาและกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะไปทำให้เข็มชี้กระดิก
ไบแรมแอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบไบแรม
Air meter - Byram anemometer
เครื่องวัดลมเล็ก ๆ ซึ่งมีความไวใช้วัดความเร็วจากกำลังการหมุนของใบพัด (windmill anemometer) โดยหมุนรอบแกนในแนวระดับหรือในแนวยืนก็ได้
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบใช้ความร้อนของลวด
Hot wire anemometer
เครื่องวัดลมซึ่งใช้วัดความเร็วลมจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความต้านทานของลวดโลหะที่ได้รับความร้อนจากกระแสไฟฟ้า เครื่องมือนี้สามารถวัดลมที่มีความเร็วน้อยมาก (เกือบเป็นลมสงบ) ได้
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบนับสัมผัส
Cantact anemometer
เครื่องวัดลมซึ่งจำนวนครั้งของขั้วสัมผัสไฟฟ้า เกิดการสัมผัสมีความถี่เป็นสัดส่วนกับความเร็วลม การสัมผัสนี้ทราบได้จากสัญญาณแสงหรือเสียงก็ได้
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบใช้มือถือ
Hand anemometer
เครื่องวัดลมซึ่งทำการตรวจวัดโดยผู้ตรวจถือด้วยมือยื่นออกไปจนสุดช่วงแขน
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบนับจำนวน
Counting anemometer
แอนนีมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลมแบบนับจำนวน
Run - of - wind anemometer
เครื่องวัดลมซึ่งการหมุนของลูกถ้วย หรือใบพัดจะไปทำให้เครื่องกลไก (สำหรับวัดจำนวนรอบ) สามารถวัดผลรวมของกระแสลมที่พัดผ่านเครื่องนี้ได้โดยตรง (ตัวอย่างเช่น วัดเป็นกิโลเมตร)
แอนีโมไบอะกราฟ
Anemobiagraph
เครื่องวัดลมแบบใช้หลอดความกด ซึ่งสามารถบันทึกค่าความเร็วได้จากการลอยตัวของลูกลอยของเครื่องวัดความกด (manometer) และด้วยการปรับเสกลของลมให้เป็นแนวเส้นตรงโดยอาศัยสปริง
กล้องทีออโดไลต์ หรือกล้องวัดมุม
Theodolite
เครื่องมือที่ใช้ในการส่องติดตามการลอยของบอลลูนตรวจอากาศ(pilot balloon) โดยการอ่านค่ามุมนอน(azimuth) และ มุมสูง (elevation) เพื่อนำไปคำนวณหาทิศทางและความเร็วลมชั้นบนในระดับต่าง ๆ
ทีออโดไลต์แบบบันทึก
Recording theodolite
ทีออโดไลต์ซึ่งสามารถบันทึกค่าที่ตรวจวัดได้บนแผนภาพ (diagram) ด้วยวิธีการทางกลศาสตร์หรือวิธีการถ่ายภาพ
บรรทัดคำนวณไพลอตแบลลูน หรือแบลลูนตรวจอากาศ
Pilot - balloon slide - rule
ไม้บรรทัดพิเศษสำหรับใช้ในการคำนวณทิศทางและความเร็วลมชั้นบนที่ได้จากการตรวจไพลอตแบลลูน หรือแบลลูนนำด้วยกล้องทีออโดไลต์
วิชาการหาทิศทางคลื่นวิทยุ
Radiogoniometry
วิชาที่ว่าด้วยหลักในการตรวจหาทิศทางของคลื่นวิทยุ (วัดเป็นมุมนอน - azimuth หรือบางครั้งหามุมสูง - elevation) จากที่ซึ่งคลื่นวิทยุเคลื่อนใกล้เครื่องรับเข้ามา
เรดิโอโกนิออมิเตอร์
Radiogoniometer
เรดิโอโกนิออมิเตอร์
เครื่องหาทิศทางคลื่นวิทยุ
Radiodirection finder
ก. เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจหาทิศทาง (วัดเป็นมุมนอนและบางทีหามุมสูง azimuth and elevation angle) ของคลื่นวิทยุจากที่ซึ่งคลื่นวิทยุเคลื่อนเข้ามา เครื่องมือนี้อาจใช้แทนเครื่องทีออโดไลต์ในการตรวจด้วยเครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) ได้ ข. คำว่าเรดิโอโกนิออมิเตอร์ อาจใช้ในการวัดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งของระบบเบลลินี - โทสซิ (Bellini - Tosi) หรือระบบอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
เรดิโอโกนิออกราฟ หรือเครื่องบันทึกทิศทางคลื่นวิทยุ
Radiogoniograph
เครื่องหาทิศทางคลื่นวิทยุ (radiodiretion finder) แบบบันทึก
เรดิโอโกนิออมิเตอร์แบบรังสีแคโทด
Cathode - ray radiogoniometer
เครื่องหาทิศทางคลื่นวิทยุ (radiodirection finder) ซึ่งมีสายอากาศระบบหมุนได้คล้ายกัน 2 ชุดสำหรับรับสัญญาณ สัญญาณนี้จะได้รับการขยายจากเครื่องรับ 2 ช่อง และนำมาใช้กับระบบการหักเหของลำรังสีแคโทดในหลอดรังสีแคโทด
เรดิโอโกนิออมิเตอร์แบบลำคลื่นแคบ
Narrow beam radiogoniometer
ในเรื่องของไฟฟ้าในบรรยากาศ (sferic) เครื่องมือนี้เป็นเครื่องหาทิศทางคลื่นวิทยุที่เกิดจากไฟฟ้าในบรรยากาศ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ซึ่งรับสัญญาณได้เพียงซีกหนึ่งในขอบเขตจำกัด (sector) เท่านั้น และกำหนดได้โดยตำแหน่งที่ตั้งระบบสายอากาศ ปกติสายอากาศต้องหมุนอยู่ตลอดเวลา เมื่อรับสัญญาณแล้วจะบันทึกลงโดยอัตโมมัติ RDF คำย่อสำหรับการหาทิศทางคลื่นวิทยุ (Radiodirection finding) ซึ่งตรงกับคำว่าวิชาการหาทิศทางคลื่นวิทยุ (radiogoniometry)
เรดาร์ซอนด์ หรือเครื่องเรดาร์หยั่งอากาศ
Radarsonde
เครื่องมือที่ใช่ในการตรวจวัดลมในระดับสูง ๆ วัดระยะทาง มุมสูง มุมนอน โดยการใช้เรดาร์ติดตามเป้าซึ่งติดไปกับลูกแบลลูนที่ปล่อยให้ลอยขึ้นไปอย่างอิสระ
เรดิโอวินด์ หรือเครื่องวิทยุวัดลม
Radiowind
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดลมชั้นบน โดยติดตามการเคลื่อนที่ของแบลลูนที่ปล่อยขึ้นไปโดยใช้เครื่องมือทางอีเลคทรอนิค
เรดิโอทีออโดไลต์ หรือกล้องทีออโดไลต์วิทยุ
Radiotheodolite
เครื่องมือทางอิเล็คทรอนิค ที่ใช้ในการติดตามการเคลื่อนที่ของเครื่องส่งวิทยุ(rawin transmitter) ผูกติดกับลูกบอลลูนที่ปล่อยให้ลอยขึ้นไป โดยการอ่านค่ามุมนอน(azimuth)และมุมสูง (elevation) เพื่อนำไปคำนวณหาทิศทางและความเร็วลมชั้นบนในระดับต่าง ๆ
เนโฟสโคป หรือเครื่องตรวจเมฆ
Nephoscope
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจหาทิศทางและวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของเมฆเครื่องมือนี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่ใช้ตรวจด้วยตามองผ่านเครื่องขึ้นไป (direct - vision nephoscope) และแบบใช้กระจกเงา (mirror nephoscope)
กริดเนโฟสโคป
Grid nephoscope
กริดเนโฟสโคป
เครื่องตรวจเมฆแบบเบสสัน
Besson nephoscope
เครื่องตรวจเมฆแบบใช้ตรวจด้วยตาซึ่งใช้ในการตรวจการเคลื่อนที่ของเมฆโดยตรงโดยผู้ตรวจหมุนตาราง (กริด) ในเครื่องปรับให้แกนใหญ่ (major axis) ทาบไปตามทิศทางที่เมฆเคลื่อนที่ไป มุมนอนที่วัดได้จากการหมุนตารางดังกล่าวจะเป็นทิศทางที่เมฆเคลื่อนที่ไป (เครื่องตรวจเมฆแบบเบสสันมีโครงร่างคล้ายคราดหรือเป็นซี่ ๆ คล้ายหวี)
เนโฟสโคปเครื่องตรวจเมฆแบบภาพสะท้อน
Reflection nephoscope
เนโฟสโคปเครื่องตรวจเมฆแบบภาพสะท้อน
เครื่องตรวจเมฆแบบไฟน์แมน
Fineman nephoscope
เป็นเครื่องตรวจเมฆแบบใช้ดูภาพการเคลื่อนที่ของเมฆจากกระจกเงา (mirror nephoscope)
เครื่องวัดลมสองทิศ
Bivane - Bi - directional vane
เครื่องวัดลมชนิดนี้มีความไวมาก ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับอากาศปั่นป่วน (turbulence) ค่าที่ได้เป็นค่าของมุมนอนและมุมสูง ซึ่งบอกทิศของลมในแนวนอนและในแนวยืนตามลำดับ
แอนนีมอไคลนอมิเตอร์
Anemoclinometer
เครื่องมือซึ่งใช้วัดแนวเอียงของลมจากแนวนอน
ไซครอมิเตอร์
Psychrometer
เครื่องมือซึ่งใช้ในการตรวจวัดความชื้นของบรรยากาศเป็นแบบหนึ่งของไฮกรอมิเตอร์ (hygrometer) ประกอบด้วยเทอร์มอมิเตอร์ 2 อัน อันหนึ่งเป็นเทอร์มอมิเตอร์ธรรมดาเรียกกันว่าเทอร์มอมิเตอร์ตุ้มแห้ง (dry - bulb thermometer) อีกอันเป็นเทอร์มอมิเตอร์ตุ้มเปียก (wet - bulb thermometer) ซึ่งมีผ้ามัสลินหุ้มอยู่รอบตุ้มปรอท มีด้ายดิบผูกผ้าติดกับหลอดแก้วไว้ปล่อยให้ปลายอีกข้างหนึ่งของด้ายดิบจุ่มลงในถ้วยน้ำกลั่นที่สะอาด ตุ้มของปรอทอันนี้จะเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลาค่าอุณหภูมิที่อ่านได้จากเทอร์มอมิเตอร์ทั้งสองอันในขณะเดียวกันจะนำไปคำนวณหาความชื้นสัมพันธ์ (relative humidity) ของอากาศในขณะนั้นได้
ไซครอมิเตอร์ชนิดแกว่ง
Sling psychrometer, Whirling psychrometer
ไซครอมิเตอร์แบบที่มีเทอร์มอมิเตอร์ตุ้มแห้งและตุ้มเปียกติดแน่นอยู่กับแผ่นโลหะบางซึ่งปลายข้างหนึ่งติดต่อกับที่จับโดยมีห่วงหรือโซ่ยึดอยู่ ในการตรวจวัดผู้ตรวจจำต้องนำมาแกว่งเพื่อทำให้มีการถ่ายเทอากาศดีขึ้นเสียก่อนจึงทำการอ่านค่าอุณหภูมิ
ไซครอมิเตอร์แบบระบายอากาศ
Ventilated psychrometer, Aspirated psychrometer
ไซครอมิเตอร์ซึ่งมีเครื่องระบายอากาศ (พัดลมดูดอากาศ) สำหรับเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อัน
ไซครอมิเตอร์แบบแอสแมน
Assmann psychrometer
ไซครอมิเตอร์ชนิดระบายอากาศแบบพิเศษซึ่งแอสแมนเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น โดยป้องกันไม่ให้การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปถูกสารนำความร้อน (thermometric elements) ที่อยู่ในเครื่องดังนั้น เครื่องมือนี้จึงใช้วัดความชื้นในที่ที่มีแสงอาทิตย์ส่องโดยตรงได้
เทอร์มอมิเตอร์ตุ้มแห้ง
Dry - bulb thermometer
เทอร์มอมิเตอร์อันหนึ่งในจำนวนสองอันของไซครอมิเตอร์ เป็นเทอร์มอมิเตอร์รรมดาซึ่งวัดค่าอุณหภูมิอากาศ
เทอร์มอมิเตอร์ตุ้มเปียก
Wet - bulb thermometer
เทอร์มอมิเตอร์อีกอันหนึ่งในไซครอมิเตอร์ ซึ่งกระเปาะถูกทำให้เปียกอยู่ตลอดเวลาโดยหุ้มกระเปาะด้วยผ้าเปียกน้ำหรือน้ำแข็ง ใช้วัดอุณหภูมิตุ้มเปียก (wet - bulb temperature)
ไฮกรอมิเตอร์
Eygrometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดความชื้นของอากาศหรือปริมาณน้ำในในอากาศไฮกรอมิเตอร์แบ่งได้เป็น 6 แบบ คือ
1.ไซครอมิเตอร์ซึ่งใช้วิธีการทางพลศาสตร์ความร้อน (thermodynamic method)
2.เครื่องมือชนิดที่เมื่อดูดความชื้นเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมิติ (ของรูปร่าง) (physical dimensions) เช่น ไฮกรอมิเตอร์แบบเส้นผม (hair hygrometer) torsion hygrometer ฯลฯ
3.เครื่องมือชนิดที่ใช้วัดจากการควบแน่นของความชื้น (condensation of moisture) เช่น ไฮกรอมิเตอร์จุดน้ำค้าง (dew - point hygrometer)
4.เครื่องมือชนิดที่เมื่อดูดความชื้นไปแล้วจะทำให้คุณสมบัติทางเคมีและไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไฮกรอมิเตอร์ดูดความชื้น (absorption hygrometer) ไอกรอมิเตอร์ไฟฟ้า (electrical hygrometer) ฯลฯ
5.เครื่องมือชนิดที่ใช้วัดจากการกระจายของไอน้ำ เมื่อผ่านเยื่อแผ่นดูดซึม (porous membrane) เช่น ไฮกรอมิเตอร์แบบดูดกระจาย (diffusion hygrometer)
6.เครื่องมือชนิดที่ใช้วัดจากการดูดซึมสเปรคตรัมของไอน้ำ (absorption spectra of water vapor) เช่นสเปคตรัมไฮกรอมิเตอร์ (spectral hygrometer)
ไฮกรอมิเตอร์จุดน้ำค้าง
Dew - point bygrometer
ไฮกรอมิเตอร์จุดน้ำค้าง
ไฮกรอมิเตอร์จุดเยือกแข็ง
Frost - point hygrometer
ไฮกรอมิเตอร์ซึ่งใช้ในการตรวจหาอุณหภูมิของจุดน้ำค้าง หรือจุดเยือกแข็ง โดยการตรวจค่าอุณหภูมิของผิวพื้นที่ถูกทำให้เย็นจนกระทั่งหยดน้ำค้าง (dew) หรือน้ำค้างแข็ง (frost) เริ่มเกาะที่ผิววัตถุนั้น
ไฮกรอมิเตอร์แบบเส้นผม
Hair hygrometer
ไฮกรอมิเตอร์ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเส้นผมที่มัดไว้ให้ตึง ใช้วัดความชื้นสัมพัทธ์โดยการยืดและหดตัวของเส้นผม ซึ่งการยืดและหดตัวของเส้นผมจะเป็นสัดส่วนกับค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ
ไฮกรอมิเตอร์แบบดูดความชื้น
Absorption hygrometer
ไฮกรอมิเตอร์แบบดูดความชื้น
ไฮกรอมิเตอร์แบบใช้วัตถุเคมี
Chemical hygrometer
ไฮกรอมิเตอร์ซึ่งวัดความชื้นหรือไอน้ำในอากาศโดยใชสารเคมีดูดความชื้น (hygroscopic chemical) จำนวนไอน้ำหรือความชื้นสามารถจะวัดได้ด้วยการชั่งน้ำหนักของสารดูดความชื้นนั้น หรือโดยการวัดคุณสมบัติทางฟิสิคส์ของสารซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนความชื้นที่ดูดเอาไว้เช่น carbon - film hygrometer
ไฮกรอมิเตอร์แบบไฟฟ้า
Electrical hygrometer
ไฮกรอมิเตอร์ซึ่งใช้สารที่มีความไว (sensitive element) หรือสารที่สามารถเปลี่ยนพลังงานจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง (transducing element) เช่น เปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยวัดคุณสมบัติทางไฟฟ้าของวัตถุที่เปลี่ยนไปตามค่าความจุความชื้นในอากาศ
ไฮโกรกราฟ หรือไฮกรอมิเตอร์แบบกราฟ
Hygrograph
ไฮกรอมิเตอร์ซึ่งบันทึกค่าความชื้น หรือปริมาณไอน้ำในอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาโดยอัตโนมัติ
ไฮโกรแกรม หรือกราฟวัดความชื้น
Hygrogram
ค่าความชื้นที่บันทึกได้ (เป็นเส้นกราฟ) โดยเครื่องไอโกรกราฟ
อีแวพโพริมิเตอร์ หรือเครื่องวัดการระเหยของน้ำ
Evaporimeter
อีแวพโพริมิเตอร์ หรือเครื่องวัดการระเหยของน้ำ
แอทมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดการระเหยของน้ำ
Atmometer
แอทมอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดการระเหยของน้ำ
แอทมิดอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดการระเหยของน้ำ
Atmidometer
เครื่องมือสำหรับวัดปริมาณน้ำที่ระเหยเข้าไปในบรรยากาศในช่วงระหว่างระยะเวลาที่กำหนดให้หรือวัดอัตราการระเหยของน้ำ
เครื่องมือที่ใช้วัดการระเหยของน้ำ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
1. แบบใช้ถังขนาดใหญ่ (large evaporation tanks) ฝังลงในดินหรือลอยไว้ในน้ำ
2. แบบถาด (small evaporation pans)
3. แบบใช้ถ้วยรูพรุน (porous porcelain bodies)
4. แบบใช้กระดาษชุ่มน้ำ (porous paper wick devices)
ถังวัดการระเหยของน้ำ
Evaporation tank
ถังวัดการระเหยของน้ำ
ถาดวัดการระเหยของน้ำ
Evaporation pan
เครื่องวัดการระเหยซึ่งประกอบด้วยถังหรือถาดแบน ๆ ค่อนข้างลึกและกว้างใส่น้ำตั้งไว้กลางแจ้ง ค่าของการระเหยของน้ำวัดได้จากระดับน้ำในถังที่ลดลงไป
อิแวพโพโรกราฟ หรือเครื่องวัดน้ำระเหยแบบกราฟ
Evaporograph
เครื่องวัดการระเหยซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือสำหรับบันทึกปริมาณน้ำที่ระเหยไปตามระยะเวลา (แบบกราฟ) หรือวัดอัตราการระเหยของน้ำ
อิแวพโพโรแกรม หรือกราฟน้ำระเหย
Evaporogram
ค่าการระเหยที่บันทึกได้จากเครื่องอิแวพโพโรกราฟ
อิแวพโพริมิเตอร์ หรือเครื่องวัดการระเหยของน้ำในดิน
Soil evaporimeter
เครื่องวัดการระเหยซึ่งใช้ในการตรวจวัดปริมาณของน้ำที่ระเหยจากผิวดินในระหว่างช่วงระยะเวลาที่กำหนด หรือวัดอัตราการระเหยของน้ำจากผิวดิน
เรดิโอ - แอทมอมิเตอร์
Radio - atmometer
เครื่องมือซึ่งออกแบบเพื่อใช้ในการตรวจวัดผลของแสงแดดที่ทำให้น้ำระเหยไปจากพืช (plant foldage) โดยการวัดพลังงานการแผ่รังสีที่ถูกเครื่องมือดูดกลืนเอาไว้
อิแวพโพทรานส์ไพรอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดการระเหยของน้ำในดินและพืช
Evapotranspirometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดอัตราของการระเหยของน้ำจากพื้นโลกขึ้นไปสู่บรรยากาศ(evapotranspiration - คือ การระเหยจากพื้นดินโดยตรงรวมกับการระเหยจากพืช - tran - spiration) ประกอบด้วยถังใส่ดินซึ่งใช้ปลูกพืชโดยออกแบบให้สามารถวัดปริมาณน้ำที่เติมเข้าไปในถังและปริมาณน้ำที่เหลืออยู่หลังจากการระเหยแล้ว
ไดรซอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดน้ำค้าง
Drosometer
ไดรซอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดน้ำค้าง
เครื่องวัดน้ำค้าง
Dewgauge
เครื่องมือใช้สำหรับตรวจวัดปริมาณน้ำค้างที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ที่กำหนด
เครื่องวัดความสูงของเมฆ
Cloud height meter
เครื่องวัดความสูงของเมฆ
ซีลลอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดฐานเมฆ
Ceilometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดความสูงของฐานเมฆ สำหรับเครื่องซีลลอมิเตอร์ ความสูงของฐานเมฆ (ceiling) จะถูกบันทึกไว้โดบอัตโนมัติ
ไฟส่องฐานเมฆ
Cloud searchlight
ไฟส่องฐานเมฆ
โพรเจคเตอร์ฐานเมฆ
Ceiling projector
เป็นเครื่องชี้ความสูงของฐานเมฆชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบสำหรับวัดฐานเมฆในเวลากลางคืน โดยใช้ไฟส่องเป็นลำแคบพุ่งตรงขึ้นไปที่ฐานเมฆ ทำให้เกิดจุดสว่างขึ้นที่ฐานเมฆ
ไคลนอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดลาด
Clinometer
เครื่องมือสำหรับใช้ในการวัดมุมเอียงหรือมุมเท (inclination) ในทางอุตุนิยมวิทยาใช้เครื่องมือนี้วัดฐานเมฆในเวลากลางคืนโดยการใช้ไฟส่องฐานเมฆ (ceiling light) แล้ววัดมุมเอียงของจุดสว่างบนฐานเมฆ
ดร๊อฟไซส์มิเตอร์ หรือเครื่องวัดขนาดของเม็ดน้ำ
Drop size mter
ดร๊อฟไซส์มิเตอร์ หรือเครื่องวัดขนาดของเม็ดน้ำ
ดิสดรอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดขนาดของเม็ดน้ำ
Disirometer
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและบันทึกการแจกแจงขนาด (size distribution) เส้นผ่าศูนย์กลางของเม็ดของเหลว หรือเม็ดน้ำฝนที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ
เครื่องวัดฝน
Raingauge
เครื่องมือสำหรับตรวจวัดปริมาณน้ำฝน วัดเป็นความสูงของน้ำที่ได้จากน้ำฟ้าที่ตกลงมาโดยสมมติให้น้ำนั้นแผ่กระจายใปบนผิวพื้นราบที่ไม่มีการดูดซึมและโดยไม่มีการระเหยเกิดขึ้น
พลูวิโอกราฟ หรือเครื่องวัดฝนแบบกราฟ
Pluviograph
พลูวิโอกราฟ หรือเครื่องวัดฝนแบบกราฟ
เครื่องวัดฝนแบบบันทึก
Recording raingauge
เครื่องวัดฝนซึ่งบันทึกค่าปริมาณน้ำฝน (ความสูงของน้ำที่ได้จากน้ำฟ้า) เป็นกราฟที่บันทึกใด้ตามเวลา เครื่องวัดฝนแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ตามหลักของการวัด คือ
ก. เครื่องวัดฝนแบบชั่งน้ำหนัก (weighing raingauge)
ข. เครื่องวัดฝนแบบถาดกระดก (tipping - bucket raingauge)
ค. เครื่องวัดฝนแบบลูกลอย (Float - type raingauge)
ง. เครื่องวัดฝนแบบรวม (combination type)
เครื่องวัดฝนแบบสะสม
Accumulative Raingauge
เครื่องวัดฝนสำหรับสถานีที่ไปทำการตรวจวัดนาน ๆ ครั้งหนึ่ง เช่น สถานีที่ตั้งอยู่บนภูเขา เครื่องมือนี้จะต้องบรรจุไว้ด้วยของเหลวที่ป้องกันไม่ให้เกิดการเยือกแข็ง รวมทั้งป้องกันไม่ให้น้ำฟ้าที่ตกลงมาเกิดการระเหยไปจากเครื่องวัดได้
พลูวิโอสโคป
Pluvioscope
เครื่องมือตรวจลักษณะและปริมาณของน้ำฟ้า และเวลาโดยการจดบันทึกเอาไว้
ไมโครพลูวิออมิเตอร์ หรือเครื่องวัดฝนอย่างละเอียด
Micropluviometer
เครื่องมือซึ่งสามารถตรวจวัดน้ำฟ้าที่ตกลงมามีปริมาณน้อยมากจนไม่สามารถจะวัดได้ด้วยเครื่องวัดฝนแบบบันทึกอย่างธรรมดาได้
ที่กำบังเครื่องวัดฝน
Raingauge shield
เครื่องกำบัง หรือป้องกันซึ่งติดอยู่รอบ ๆ ปากกรวยเครื่องวัดฝน เพื่อป้องกันอิทธิพลจากอากาศปั่นป่วน (atmospheric vortices) ที่เกิดใกล้ ๆ เครื่องวัด ที่กำบังเครื่องวัดฝนนี้เราเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าที่กำบังลม (wind shield)
เครื่องวัดหิมะ
Snowgauge
เครื่องวัดซึ่งสร้างขึ้นสำหรับวัดความสูงของหิมะ หรือปริมาณของน้ำฟ้าที่ตกลงมาในรูปของหิมะ การตรวจวัดหิมะนี้แล้วแต่ชนิดของเครื่องมือที่ใช้อาจจะวัดได้เป็นค่าน้ำหนักของหิมะหรือปริมาณหิมะที่ละลายแล้วก็ได้
Snow - sampler (snow tube)
เครื่องวัดหิมะซึ่งประกอบด้วยกระบอกโลหะปลายข้างหนึ่งปิด สำหรับเก็บตัวอย่างหิมะจากปริมาณที่ต้องการวัดหลังจากละลายแล้ว
ไม้วัดหิมะ
Snow - stake (snow scale)
หลักซึ่งมีเสกลใช้วัดความสูงของหิมะ ตอกติดในบริเวณที่มีหิมะตกมาก ๆ
เทอร์โมไฮโกรกราฟ
Thermohygrograph
เทอร์โมไฮโกรกราฟ
ไฮโกรเทอร์โมกราฟ
Hygrothermograph
เครื่องวัดซึ่งรวมเทอร์โมกราฟและไฮโกรกราฟไว้ด้วยกัน เป็นเครื่องที่บันทึกค่าอุณหภูมิและความชื้นของบรรยากาศได้ในเวลาเดียวกัน โดยบันทึกลงในกราฟแผ่นเดียวกัน
เทอร์โมไฮโกรแกรม
Thermohygram
เทอร์โมไฮโกรแกรม
ไฮโกรเทอร์โมแกรม
Hygrothermogram
ค่าที่บันทึกได้ (เป็นเส้นกราฟ) จากเครื่องเทอร์โมไฮโกรกราฟ หรือเครื่องไฮโกรเทอร์โมกราฟ
ไฮโกรเทอร์โมสโคป
Hygrothermoscope
เครื่องมือซึ่งใช้วิธีการของเทอร์มอมิเตอร์แบบโลหะ 2 ชนิด และไฮกรอมิเตอร์แบบเส้นผมมารวมกันเพื่อที่จะไปบังคับให้เข็มหน้าปัทม์เคลื่อนที่ และจะบอกค่าการเปลี่ยนแปลงของจุดน้ำค้างโดยประมาณ
โพลี่มิเตอร์แบบแลมเบรซ
Lambrecht 's polymeter
เครื่องมือที่ประกอบด้วยเครื่องวัดความชื้นของอากาศ (ไฮกรอมิเตอร์) แบบเส้นผมและเทอร์มอมิเตอร์ปรอท ซึ่งสามารถอ่านค่าอุณหภูมิจุดน้ำค้างออกมาได้โดยประมาณ
บาโรเทอร์โมกราฟ
Barothermograph
เครื่องมือซึ่งประกอบด้วยบาโรกราฟและเทอร์โมกราฟ ใช้วัดค่าความกดอากาศและอุณหภูมิได้ในเวลาเดียวกัน และบันทึกลงในกราฟแผ่นเดียวกัน
มีทิออโรกราฟ
Meteorograph
เครื่องมือซึ่งบันทึกค่าสารประกอบหรือธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยา (meteorological element) หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน โดยอัตโนมัติลงบนกราฟแผ่นเดียวกัน
มีทิออโรกราฟแบบระบายอากาศ
Aspiration meteorograph
เครื่องมีทิออโรกราฟซึ่งออกแบบให้มีการระบายอากาศโดยใช้เครื่องดูดอากาศ
แอโรกราฟ
Aerograph
แอโรกราฟ
แอโรมีทิออโรกราฟ
Aerometeorograph
เครื่องมีทิออโรกราฟซึ่งนำขึ้นไปในอากาศโดยวิธีใดก็ตาม เพื่อทำการตรวจวัดข้อมูลอุตุนิยมวิทยา เช่น เครื่องมือที่ติดอยู่ในเครื่องบินเพื่อวัดและบันทึกค่าของความกดบรรยากาศ อุณหภูมิ และความชื้น โดยอัตโนมัติในเวลาเดียวกัน
มีทิออโรแกรม
Meteorogram
ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาที่บันทึกได้จากเครื่องมีทิออโรกราฟ
เรดิโอซอนด์ หรือเครื่องวิทยุหยั่งอากาศ
Radiosonde
เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ ที่ทำการตรวจวัดสารประกอบอากาศชั้นบน เช่น ความกดอากาศ อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ในระดับสูงต่าง ๆ
เรวินซอนด์ หรือเครื่องวิทยุหยั่งอากาศชนิดตรวจวัดลม
Rawinsonde
การตรวจอากาศชั้นบนด้วยเครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) ผูกติดกับบอลลูนขนาด 600 กรัม ที่ปล่อยให้ลอยขึ้นไป เพื่อตรวจความกดอากาศ อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ในระดับสูงต่าง ๆ ส่งมายังเครื่องรับภาคพื้นดิน(ground receiver) และสามารถติดตามการเคลื่อนที่ด้วยเรดิโอทีโอโดไลท์ (กล้องวัดมุมใช้คลื่นวิทยุ) พร้อมกับตรวจวัดทิศทางและ ความเร็วลมในระดับต่าง ๆ
ดร๊อปซอนด์
Dropsonde
เครื่องวิทยุหยั่งอากาศที่ส่งขึ้นไป และสามารถติดตามการเคลื่อนที่ด้วยเรดาร์หรือเรดิโอธีโอโดไลท์ (กล้องวัดมุมใช้คลื่นวิทยุ) เพื่อตรวจอากาศชั้นบน เช่น ความกดอากาศ อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ในระดับสูงต่าง ๆ พร้อมกับตรวจวัดทิศทางและความเร็วลมระดับต่าง ๆ ด้วย
รอคเก๊ทซอนด์ หรือจรวดตรวจอากาศ
Rocketsonde
เครื่องมือหยั่งอากาศหรือตรวจวัดอากาศ ซึ่งใช้จรวดเป็นตัวนำขึ้นไปเพื่อตรวจอากาศชั่นบน
ไวร์ซอนด์
Wiresonde
เครื่องหยั่งอากาศที่นำขึ้นไปตรวจอากาศโดยผูกติดอยู่กับแบลลูนที่ล่ามอยู่กับที่บนพื้นดิน (captive balloon) หรือติดอยู่ใต้เฮลิคอปเตอร์ โดยมีเครื่องมือสำหรับตรวจววัดธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยาเพียงอย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ได้ เช่น เครื่องมือตรวจความกดอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น และลม ทำการตรวจตั้งแต่ระดับพื้นดินขึ้นไปจนถึงระดับสองสามพันฟุต สามารถทราบความสูงได้จากเครื่องวัดความสูงที่มีความไว (sensitive altimeter) หรือจากความยาวของสายลวดที่ใช้โยงลูกแบลลูนไว้กับพื้นดินกับมุมที่สายลวดทำกับพื้นดิน ข้อมูลที่ได้จะส่งลงมายังภาคพื้นดินโดยทางสายโทรเลข (wire cable)
เทเลมีทิออโรกราฟ
Telemeteorograph
เป็นคำทั่ว ๆ ไปสำหรับเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาที่ติดตั้งอยู่ในระยะไกล เพื่อตรวจวัดและส่งข้อมูลได้มายังสถานี แล้วเครื่องรับที่สถานีจะบันทึกค่าไว้เป็นกราฟ เช่น เครื่องเรดิโอซอนด์ เครื่องวัดฝน ฯลฯ
สถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ
Automatic weather station
สถานีอุตุนิยมวิทยาซึ่งทำการตรวจอากาศด้วยเครื่องมือที่สามารถตรวจวัดได้โดยอัตโนมัติ แล้วส่งข่าวที่ตรวจได้ไปยังสถานีที่ซึ่งอยู่ห่างไกลโดยวิธีการเกี่ยวกับแสง (optical method) วิธีการทางไฟฟ้า (electrical method) หรือวิธีการของคลื่นวิทยุ (radio method)
เรดาร์
Radar
วิธีการทางคลื่นวิทยุซึ่งใช้ในการหาระยะทางและทิศทางของวัตถุใดวัตถุหนึ่ง ซึ่งจะทราบระยะทางได้จากช่วงเวลาที่คลื่นสัญญาณวิทยุเดินทางจากสถานีไปถึงวัตถุ และเดินทางกลับจากวัตถุนั้นมาสถานี คำว่า เรดาร์ (radar) นี้ มาจากคำว่า "Radio detection and ranging" เรดาร์เป็นเครื่องมือทางอีเลคทรอนิคชนิดหนึ่งที่ใช้ตรวจหาทิศทางและระยะทางของวัตถุเป้าหมายโดยที่เป้าหมายนั้นสามารถกระจายหรือสะท้อนพลังงานวิทยุ (radio energy) ได้ เครื่องเรดาร์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุแบบพิเศษ และเครื่องรับที่ติดตั้งอยู่ที่เดียวกันและใช้ระบบจานสายอากาศ (antenna system) ร่วมกัน เครื่องส่งจะส่งพลังงานวิทยุในรูปของสัญญาณโดยจานสายอากาศทำหน้าที่รวม (focus) พลังงานคลื่นวิทยุแล้วส่งออกสู่บรรยากาศเป็นลำแคบ ๆ วัตถุใดที่อยู่ในทางที่คลื่นของสัญญาณวิทยุส่งออกไป จะไปที่สะท้อน และดูดกลืนพลังงานนั้น สัญญาณของเป้า (target signal) จะสะท้อนและกระจายพลังงานส่วนหนึ่ง (จำนวนเล็กน้อย) ที่ได้รับผ่านบรรยากาศกลับมาในทิศทางเดิมเข้าสู่จานสายอากาศของเครื่องรับ ระยะทางหาได้จาก ความถี่ของสัญญาณหรือช่วงเวลาที่เริ่มนับ เริ่มจากส่งสัญญาณออกไปจนสัญญาณนั้นกลับมายังจานสายอากาศจะได้ ระยะทาง (distance) หรือระยะทางในแนวเฉียง (slant range) ระหว่างเครื่องเรดาร์กับเป้าได้ ส่วนทิศทางของเป้านั้นดูจากทิศที่ลำสัญญาณถูกส่งไปและสัญญาณที่สะท้อนจากเป้าได้รับกลับมาในขณะนั้น และการที่จะหาว่าเป้านั้นเป็นอะไรก็ต้องดูจากชนิดของสัญญาณสะท้อน (echoes)
เร้นจ์ - ไฮ้ท์ อินดิเคเตอร์
Range - height indicator (RHI)
ภาพปรากฎบนจอเรดาร์ (radar presentation) จะเป็นภาพที่ตรวจได้ในแนวยืน ด้วยเหตุที่สัญญาณที่ได้รับจากเป้าวัดได้เป็นมุมเงย (elevation angle) และระยะทางในแนวเฉียง (slant range)
แพลน โพซิชัน อินดิเคเตอร์
Plan position indicator (PPI)
ภาพปรากฎบนจอเรดาร์ในรูปแบบของ โพลา - โคออดิเนต (polar coordinates) ระหว่างระยะทาง (range) และมุมแนวนอน (azimuth) ของเป้า สัญญาณสะท้อนกลับจากเป้า (echo) ที่ปรากฎบนจอเรดาร์นั้นจะมีความสว่างมากน้อยขึ้นอยู่กับกำลังสัญญาณที่เป้าส่งกลับมา และตำแหน่งของเรดาร์จะปรากฎอยู่ตรงกลางจอ
สเฟอริค เรคคอร์ดเดอร์ หรือเครื่องบันทึกพลังแม่เหล็กไฟฟ้าในบรรยากาศ
Fferic recorder
เครื่องมือสำหรับตรวจสอบทิศทาง ความเข้ม และความถี่ของการปรากฎการณ์ ไฟฟ้าในบรรยากาศ (atmospherics)
อีมานอมิเตอร์
Emanometer
เครื่องมือสำหรับตรวจวัดปริมาณของธาตุเรดอน (radon) ที่มีอยู่ในบรรยากาศ เรดอน (radon) เป็นก๊าซกัมมันตภาพรังสี (radioactive gas)
เครื่องตรวจฝุ่น
Dust - counter
เครื่องตรวจฝุ่น
เครื่องวัดปริมาณนิวคลีไอ
Nuclei - counter
เครื่องมือสำหรับวัดขนาดและปริมาณของอุนภาคฝุ่นละออง (dust particles) ที่มีอยู่ในหนึ่งหน่วยปริมาตรของอากาศ คำว่า "Nuclei - counter" เครื่องวัดปริมาณนิวคลีไอหมายถึง เครื่องตรวจจำนวนอนุภาคฝุ่น (dust particles) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวนิวคลีไอควบแน่น (condensation nuclei) หรือนิวคลีไอน้ำแข็ง (ice nuclei) ที่มีอยู่ในอากาศ
โคนิมิเตอร์
Konimeter
เครื่องมือสำหรับตรวจจำนวนฝุ่นละอองที่มีปะปนอยู่ในอากาศอย่างคร่าว ๆ แบบหนึ่งของเครื่องมือนี้ใช้หลักความจริงที่ว่า ความเข้มของสีที่เกิดขึ้นในสารชนิดใดชนิดหนึ่งเนื่องจากการควบแน่นหรือกลั่นตัวของไอน้ำจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณความเข้มของฝุ่นละอองที่มีอยู่ในอากาศ
เนฟเฟลอมิเตอร์
Nephelometer
1. เครื่องมือสำหรับใช้ในการตรวจจำนวนอนุภาค (particles) ที่ปะปนอยู่ในตัวกลางหรืออากาศที่ขุ่นมัว (turbid medium) โดยใช้วิธีการเกี่ยวกับแสง (optical method)
2. ใช้เช่นเดียวกับเครื่องมือตรวจวัดปริมาณเมฆ (nephometer)
วัตถุ หรือเป้าทัศนวิสัย
Visibility marker - Visibility object
เครื่องหมายหรือเป้าหมายบนพื้นดิน เช่น หอคอย โบสถ์ บ้าน แนวต้นไม้ ฯลฯ ซึ่งทราบระยะทางที่แน่นอนจากสถานีตรวจและใช้เป็นเป้าสำหรับวัดทัศนวิสัย
เครื่องมือวัดทัศนวิสัย หรือมาตรวัดทัศนวิสัย
Visibility meter
เครื่องมือซึ่งใช้ในการตรวจวัดทัศนวัสัย
ทรานสมิสซอมิเตอร์
Transmissometer
เครื่องมือซึ่งใช้ในการตรวจวัดทัศนวิสัย โดยการวัดค่าการส่องผ่าน (transmission) หรือการลดความสว่าง (extinction) ของลำแสงสว่างซึ่งส่องไปตามระยะทางที่ทราบความยาว โดยปกติค่าทัศนวิสัยสามารถจะตรวจวัดได้ ณ จุดที่อยู่ห่างไกลจากวัตถุที่มีความไว (sensing element) ต่อแสง
เทเลโฟทอมิเตอร์
Telephotometer
เทเลโฟทอมิเตอร์ซึ่งใช้วัดความเข้มของแสงที่ได้รับจากวัตถุต้นกำเนิดที่อยู่ไกล
โพเลอริมิเตอร์
Polarimeter
เครื่องมือที่ใช้ในทางอุตุนิยมวิทยา สำหรับวัดเปอร์เซ็นหรือองศาของโพลาไรเซชัน (percent or degree of polarization) โพลาไรเซชัน คือ สภาวะที่การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) เป็นไปในแบบเฉพาะ ตัวอย่างเช่น แผ่ออกไปในพื้นเดียว (one plane) หรือในวงกลมเดียว ฯลฯ
โพลาริสโคป
Polariscope
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาพิจารณา หรือตรวจสอบแสงโพลาไรซ (polarized light) รวมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติของแสงนั้นด้วย
โอโซนซอนด์ หรือเครื่องวัดโอโซน
Ozone sonde
เครื่องมือซึ่งติดขึ้นไปกับลูกแบลลูน เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงปริมาณโอโซนที่มีอยู่ในบรรยากาศตามแนวยืน
โอโซนสเปคโทรโฟทอมิเตอร์
Ozone spectrophotometer
เครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณรวมทั้งหมดของโอโซนที่มีอยู่ในลำของบรรยากาศในแนวยืน
ไอออนโนสเฟอริค เรคคอร์ดเดอร์ หรือเครื่องบันทึกบรรยากาศชั้นไอออนโนสเฟียร์
Ionospheric recorder
เครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจสอบคุณสมบัติตามแนวยืนของบรรยากาศชั้นไอออนโนสเฟียร์ (Ionosphere) โดยตรวจสอบความสูงและความถี่วิกฤต (critical frequencies) ของบรรยากาศในของระดับชั้นต่าง ๆ โดยวิธีการส่งคลื่นวิทยุออกไปในแนวยืน แล้วเครื่องจะบันทึกช่วงเวลาที่คลื่นวิทยุนั้นส่งกลับมาสำหรับความถี่ต่าง ๆ กัน (เวลาต่างกัน)
คาตาเทอร์มอมิเตอร์
Katathermometer
เครื่องมือซึ่งประกอบด้วยวัตถุเก็บความร้อน 2 อัน อันหนึ่งแห้ง อีกอันหนึ่งชื้น เครื่องมือนี้ใช้ในการตรวจปริมาณโดยประมาณของความร้อนที่สูญเสียไปต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยทำให้วัตถุอันหนึ่งมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิในร่างกายมนุษย์ เครื่องมือนี้เป็นแบบหนึ่งของเครื่องวัดความเร็วลมด้วย โดยใช้พลังงานในการเย็นลงเป็นหลักในการวัด (cooling - power anemometer) และถือหลักที่ว่าเวลาที่ใช้ในการปรับเข็มชี้ของเครื่องมือให้ชี้ค่าอุณหภูมิที่เป็นอยู่จริง ๆ (time constant of a thermometer) เป็นฟังค์ชั่นกับการถ่ายเทอากาศ เครื่องมือนี้ใช้สำหรับวัดลมที่มีกำลังอ่อนมาก (เกือบอยู่ในสภาวะลมสงบ)
ฟรีโกริมิเตอร์
Frigorimeter
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดพลังงานในการเย็นตัวทางสรีรวิทยา (physiological cooling power) (มีหน่วยเป็นมิลิกรัม - แคลอรี่) ของอากาศที่อยู่เหนือลูกกลมทองเหลืองเคลือบสีดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 ซม. ซึ่งทำให้มีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยคงที่เกือบเท่ากับอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ (36.5 ° ซ.) โดยใช้กรรมวิธีทางไฟฟ้า เพื่อทานปริมาณความร้อนที่สูญเสียไปเนื่องจากสภาวะทางอุตุนิยมวิทยาของอากาศรอบ ๆ
ฟริโกริมิเตอร์แบบบันทึก
Recording frigorimeter
เครื่องมือครบชุดของฟริโกริมิเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องฟริโกริมิเตอร์หนึ่งเครื่อง เครื่องบันทึกพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไปรวมทั้งเครื่องมืออื่น ๆ อีกเช่น เทอร์มอมิเตอร์ที่มีขั้วไฟฟ้า และเครื่องรีเลย์ (relays) เป็นต้น
ออสมอมิเตอร์
Osmometer
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดเกี่ยวกับสภาพอากาศบนถนน เป็นเครื่องมือสำหรับวัดปริมาณน้ำที่มีอยู่ในดินภายใต้พื้นถนน
ไลซิมิเตอร์
Lysimeter
เครื่องมือสำหรับใช้วัดปริมาณน้ำที่เกิดจากน้ำฟ้า โดยปริมาณน้ำส่วนนี้ซึมผ่านลงไปในดิน
ไครโอพีดอมิเตอร์
Cryopedometer
เครื่องมือใช้ในการวัดความลึกของชั้นดินที่น้ำเกิดการแข็งตัว หรือชั้นดินเยือกแข็ง *การเรียกชื่อเครื่องมือต่าง ๆ อ่านออกเสียงตามหลักการอ่านในหนังสือ WEBSTER'S INTERNATIONAL DICTIONARY ของสำนักพิมพ์ G. & C. MERRIAM Co.
ซัน โฟโตมิเตอร์
Sun Photometer
เครื่องมือที่ใช้วัดความเข้มของแสงอาทิตย์ที่ส่องตรงผ่านชั้นบรรยากาศมายังเครื่องมือโดยใช้ช่วงคลื่นแคบ ๆ สามารถนำไปใช้คำนวณความขุ่นมัวในบรรยากาศจากฝุ่นละออง(aerosol optical thickness)
เทอร์โมมิเตอร์(เทอร์มอมิเตอร์) หรือเครื่องวัดอุณหภูมิ
Thermometer
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดอุณหภูมิ หรือระดับความร้อน ความเย็น เทอร์โมมิเตอร์แบ่งออกได้เป็น หลายแบบ แล้วแต่การสร้างหรือชนิดที่ใช้ เช่น
เทอร์โมกราฟ หรือ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบกราฟ
Thermograph
เทอร์โมมิเตอร์ซึ่งใช้บันทึกค่าอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา โดยบันทึกลงบนกระดาษที่พันรอบกระบอกลานนาฬิกาซึ่งหมุนไปตามเวลา